กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะเทศบาลตำบลบ้านสวน ปี2566
รหัสโครงการ 66-L3325-5-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลบ้านสวน
วันที่อนุมัติ 3 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 1 กันยายน 2566
งบประมาณ 38,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฐิติมา วิเชียรโชติ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมทรง ประยูรวงศ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจังหวัดพัทลุง(ข้อมูล 1 มกราคม 65- 23 กรกฎาคม 2565)
38.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ จากข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลบ้านสวน มีแนวโน้มสูงขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาไปที่การกำจัดยุงตัวเต็มวัย การพ่นหมอกควัน เป็นต้น โดยไม่ได้กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และไข่ลูกน้ำยุงลาย จึงทำให้มียุงรุ่นใหม่เกิดได้ตลอดช่วงเวลา จึงไม่สามารถขจัดโรคไข้เลือดออกให้หมดไปจากชุมชนได้ งานสาธารณสุขเทศบาลตำบลบ้านสวนจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคที่มียุงลายเป็นพาหะเทศบาลตำบลบ้านสวน ขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นการกระตุ้น ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ลดอัตราการป่วยและลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ด้วยตนเอง โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหนะนำโรคและร่วมกับชุมชน บริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหนะนำโรคและร่วมกับชุมชนบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ ของการป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

50.00 100.00
2 เพื่อให้ประชาชน องค์กร ชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

50.00 100.00
3 เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไม่ให้แพร่กระจาย

สามารถควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน

60.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 12 0.00 1 0.00
4 ต.ค. 65 ประชุมวางแผนทำงาน 12 0.00 0.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 5526 38,600.00 3 38,600.00
7 ต.ค. 65 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมรณรงค์และเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก 5,526 38,600.00 38,600.00
7 ต.ค. 65 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมกรณีเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 0 0.00 0.00
3 - 28 ก.ค. 66 กิจกรรมครัวเรือนต้นแบบปราศจากลูกน้ำยุงลาย 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดจำนวนผู้ป่วยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 50
  2. ดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลง และลดอัตราป่วยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
  3. มีครัวเรือนต้นแบบในการใช้เป็นตัวอย่างแก่บ้านข้างเคียงได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2565 00:00 น.