กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพจิตที่เปลี่ยนไปกับสังคมผู้สูงอายุที่เปลี่ยนแปลงตำบลทุ่งพลา ปี 2566
รหัสโครงการ 2566/L2979/1/02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีชา กาฬแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.641,101.152place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บุคคลที่มีสุขภาพจิตที่ดี มีความสามารถที่จะปรับตัวและมีความเข้มแข็งทางใจ ไม่ว่าสังคมที่บุคลอาศัยอยู่นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม ก็จะเห็นได้ว่าปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ หลายด้าน ซึ่งส่งผลต่อสภาพจิตใจของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า”มนุษย์” “คน” สิ่งมีชีวิตนี้มักจะถูกกล่าวถึงในเรื่องของจิตใจที่ว่า “การเป็นมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง”         การส่งเสริมสุขภาพจิตคือ การส่งเสริมให้ประชาชนทุกเพศวัยได้รับการดูแลทางสังคมจิตใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลตนเอง และอยู่ในสิ่งแวดล้อม ครอบครัว สังคม ชุมชน ที่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเกิดจากการที่สังคมชุมชนดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนการจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมทั้งร่างกายจิตใจและการที่ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง และการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต คือ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช โดยการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ความเครียดระยะยาว ความก้าวร้าวรุนแรง และเพิ่มปัจจัยปกป้อง เช่น การให้กำลังใจ การช่วยเหลือด้านการอาชีพ แก่ประชาชนทุกเพศวัย การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตดำเนินการในกลุ่มประชาชนทุกเพศวัยในกลุ่มปกติ เช่น การจัดโปรแกรมการออกกำลังกายในที่ทำงานเพื่อลดความเครียด การจัดค่ายป้องกันยาเสพติดสำหรับวัยรุ่นและกลุ่มเสี่ยง เช่น การดูแลทางสังคมจิตใจกลุ่มวัยรุ่นตั้งครรภ์ การคัดกรองและดูแลทางสังคมจิตใจในผู้ป่วยโรคเรื้อรังการดูแลทางสังคมจิตใจผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียง เป็นต้น และในสังคมปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวสู่ “สังคมผู้สูงอายุ”อย่างสมบูรณ์ และภายใต้นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข “ผู้สูงอายุสุขภาพดี ดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี”         โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมรักษา ฟื้นฟูและป้องกันโรคได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพจิตใจ ในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยทางจิตเวชและผู้ดูแล ให้มีสุขภาพจิตที่ดีสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 11,620.00 1 11,620.00
22 มิ.ย. 66 โครงการสุขภาพจิตที่เปลี่ยนไปกับสังคมผู้สูงอายุที่เปลี่ยนแปลงตำบลทุ่งพลา ปี 2566 50 11,620.00 11,620.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำ อสม.และผู้ดูแล มีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้แบบคัดกรองสุขภาพจิต 2Q 9Q
      ได้อย่างถูกต้อง
  2. แกนนำ อสม.และเครือข่ายในชุมชน เข้าใจระบบการส่งต่อ และเฝ้าระวังผู้ป่วยทางจิตเวช   ได้อย่างถูกต้อง
  3. ประชาชนได้รับการดูแล ส่งเสริมป้องกันด้านสุขภาพจิต ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2565 14:51 น.