กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3 อ 2 ส ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ L8408-92566
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 20,210.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสมนึก อาดตันตรา
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.827362,99.92193place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 20,210.00
รวมงบประมาณ 20,210.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่ออันเกี่ยวเนื่องมาจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ทั้งการกิน การนอน การพักผ่อน การออกกำลังกาย และการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญของโลก เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปีละ 3 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย (กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค , 2564) จากการสำรวจสถานการณ์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา พ.ศ. 2563 – 2565 ในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.แป-ระ ประชาชนมีอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานรายใหม่ คิดเป็น 306.95, 353.87 และ 350.82 ต่อแสนประชากรตามลำดับ และมีอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็น 597.74, 514.72 และ 590.02 ต่อแสนประชากรตามลำดับ อีกทั้งมีประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 97.76 , 90.15 และ 96.15 ตามลำดับ มีประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 0.00 , 3.08 และ 4.08 ตามลำดับ และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สามารถควบคุมได้ จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 34.40 มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมได้ จำนวน 263 คน คิดเป็นร้อยละ 47.39 (HDC สตูล, 2565) ซึ่งยังถือว่าน้อย และจะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี การที่กลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจะปฏิบัติพฤติกรรมที่เหมาะสมและสามารถควบคุมโรคให้ได้ผลดีในระยะยาวต้องเกิดจากความต้องการดูแลตนเองของผู้ป่วยเป็นสำคัญ มีการวางเป้าหมายของการเรียนรู้ และการปรับพฤติกรรมตามความต้องการของตนเอง เมื่อมีการดูแลตนเองในระดับที่เพียงพออย่างต่อเนื่องและกระทำอย่างมีประสิทธิภาพจะนำไปสู่การดำรงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดี ตามทฤษฎีความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ดังนั้นการพัฒนาทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ. 2ส. จึงเป็นวิธีการที่ที่จะช่วยให้สามารถดูแลตนเองและป้องกันโรคได้ อีกทั้งการเน้นพัฒนาศักยภาพระบบเฝ้าระวังโดยการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยส่งเสริมให้ อสม. เข้ามามีส่วนร่วมในการคัดกรองร่วมกับเจ้าหน้าที่ เพื่อให้รับรู้ปัญหาสุขภาพของชุมชน รู้ถึงสาเหตุของการป่วยเป็นโรค เข้ามามีบทบาทในการเป็นผู้นำการการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ และแก้ไขปัญหาสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรมก็เป็นวิธีการที่สำคัญเช่นกันที่จะช่วยลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในชุมชนได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ จึงได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3อ. 2ส. ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อให้ได้รับความรู้ทักษะในการจัดการตนเองและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดความเสี่ยง ป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายในชุมชนให้ช่วยดูแลติดตามผู้ป่วย และพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส

หลังเข้าร่วมโครงการประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตามหลัก 3อ. 2ส. ในระดับดีขึ้นไป

0.00
2 2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ. 2ส

หลังเข้าร่วมโครงการประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ. 2ส ในระดับดีขึ้นไป

0.00
3 3 เพื่อให้แกนนำ อสม.เชี่ยวชาญมีความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส

หลังเข้าร่วมโครงการแกนนำอสม.เชี่ยวชาญมีความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. ในระดับดีขึ้นไป

0.00
4 4 เพื่อให้แกนนำ อสม.เชี่ยวชาญมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ. 2ส

หลังเข้าร่วมโครงการแกนนำอสม.เชี่ยวชาญมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ. 2ส ในระดับดีขึ้นไป

0.00
5 5 เพื่อให้แกนนำ อสม.เชี่ยวชาญมีทักษะการตรวจน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตสูงที่ถูกต้อง

แกนนำอสม.เชี่ยวชาญมีทักษะการตรวจน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตสูงที่ถูกต้อง ร้อยละ 90

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3 อ. 2 ส.(27 ธ.ค. 2565-30 ก.ย. 2566) 20,210.00                    
รวม 20,210.00
1 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3 อ. 2 ส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 160 20,210.00 2 20,210.00
25 - 26 มิ.ย. 66 พัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเป้าหมาย(กลุ่มเสี่ยง, กลุ่มป่วย) 100 16,910.00 16,910.00
28 มิ.ย. 66 แกนนำอสม.เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวานและความดันโลหิต 60 3,300.00 3,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2565 15:47 น.