กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในพื้นที่ตำบลทุ่งพลา
รหัสโครงการ 2566/L2979/1/04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 37,940.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีชา กาฬแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.641,101.152place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้านสมองและการเรียนรู้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ที่สุดในชีวิต ให้นับว่าเด็กปฐมวัยเป็นการลงทุนที่ คุ้มค่า ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมใน สังคม สร้างฐานรากของชีวิต และเด็กวัยนี้เป็นช่วงวัยที่ ต้องการการปลูกฝัง บ่มเพาะพิเศษ โดยได้กำหนดให้เป็น นโยบายของรัฐ ในการเร่งรัดเพื่อให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้ รับการพัฒนารอบด้าน ตามวัย อย่างมีคุณภาพและต่อ เนื่อง1 ซึ่งพัฒนาการในวัยเด็กที่เหมาะสม โดยเฉพาะใน เด็กปฐมวัย อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี มีความสำคัญใน การเป็นรากฐานของคุณภาพของประชากรในสังคม จากการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของ เด็กปฐมวัยที่ผ่านมาพบว่าพัฒนาการของเด็กไทยมีแนวโน้มช้าลงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โดย มีเด็กที่มีพัฒนาการตามเกณฑ์มาตรฐาน 4 ด้าน คือ การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก การใช้ภาษาและการพัฒนาช่วยตนเองในการอยู่ใน สังคม ปี พ.ศ. 2541 คิดเป็นร้อยละ 71จึงทำให้ เกิดประเมินพัฒนาการเด็กที่ผ่านมานั้นไม่สามารถสรุป ได้ว่า เด็กไทยมีพัฒนาการช้านั้น สืบเนื่องมาจากสภาพ สังคมที่เปลี่ยนไปอันส่งผลต่อพัฒนาการให้เด็กไทยมี พัฒนาการล่าช้า คลินิกเด็กดีที่มีในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ยังไม่สามารถให้บริการคัดกรอง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการมารับบริการของเด็กในพื้นที่ การใช้เวลาในการ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ฉีดวัคซีน ทำให้ไม่มีเวลาที่จะ คัดกรองพัฒนาการ นอกจากนี้ ในระยะหลังการติดตาม เฝ้าระวังพัฒนาการเด็ก (developmental surveillance) เป็นแนวทางที่ได้รับการยอมรับมากกว่าการประเมิน หรือตรวจคัดกรองพัฒนาการเพียงอย่างเดียว เนื่องจาก แบบประเมินคัดกรองพัฒนาการมักมีข้อจำกัดในด้าน ของความไวหรือความจำเพาะ การติดตามเฝ้าระวัง พัฒนาการหมายถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในการติดตามพัฒนาการของเด็กโดยเฉพาะในช่วงปฐมวัย ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้คิดเครื่องมือที่ใช้ในการเฝ้าระวัง คัดกรอง และส่งเสริมพัฒนาการเด็กตั้งแต่แรกเกิด-5 ปี นั้น เพื่อที่จะเชื่อมโยงการทำงาน การคัดกรอง และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ระหว่าง ทีมอสม. พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลพัฒนาการเด็ก และ ระบบการดูแลส่งต่อเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าโดย ครอบครัว พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็กเฝ้าระวังและ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กเบื้องต้นและเมื่อเด็กมารับบริการ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่คลินิกสุขภาพเด็กดี เด็กก็จะได้รับการตรวจประเมินซ้ำโดยเครื่องมือเฝ้าระวังและ ส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่เป็นเครื่องมือมาตรฐานซึ่งหากมี การพัฒนาเครื่องมือที่มีมาตรฐานและสามารถคัดกรอง เฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้ เป็น แนวทางเดียวกันระหว่าง พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จะให้การบูรณาการงาน พัฒนาการเด็กไทยเป็นไปในแนวทางเดียวกันทั้งประเทศ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมผู้ปกครองให้ความสำคัญในการตรวจพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด ถึง 5 ปี

1ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถตรวจพัฒนาการด้วยตนเองได้ ร้อยละ 100

2 1 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับการคัดกรองพัฒนาการ

1เด็ก 0-5 ปี ได้รับคัดกรองพัฒนาการ ร้อยละ 100

3 เพื่อสร้างอสม.ต้นแบบ การเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กในชุมชน

1เกิด อสม. ต้นแบบด้านการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็ก
หมู่ละ 4 คน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 37,940.00 2 37,940.00
6 - 7 ก.ค. 66 อบรมให้ความรู้การเฝ้าระวัง การคัดกรองและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 40 23,220.00 23,220.00
23 ส.ค. 66 มหกรรมสุขภาพเด็กดี 100 14,720.00 14,720.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดนวัตกรรมในรูปแบบของกระบวนการดำเนินงานพัฒนาการโดยมีเครือข่ายเป็นส่วนร่วม
  2. ผู้ปกครองให้ความสำคัญเกิดความตระหนักในการตรวจพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด ถึง 5 ปี
  3. เด็กทุกคนได้รับการตรวจพัฒนาการตามช่วงวัยและได้รับการส่งเสริมพัฒนาการ
  4. อสม. ต้นแบบด้านการเฝ้าระวังพัฒนาการเด็ก หมู่ละ 4 คน สามารถคัดกรองพัฒนาการได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2565 12:24 น.