กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพเด็กวัยเรียนสดใสป้องกันโรคซึมเศร้า
รหัสโครงการ 2566/L2979/2/09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านเกาะตา
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มิถุนายน 2566 - 5 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,410.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจินดา พิทักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.641,101.152place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาโรคซึมเศร้า นับเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ป่วย เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้หมดกำลังใจ ท้อแท้ในชีวิต ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลงอย่างชัดเจน ปัญหาภาวะซึมเศร้าในเด็กเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่สำคัญของประเทศที่ส่งผลกระทบต่อตัวเด็ก ครอบครัวและสังคมจากสถานการณ์โรคซึมเศร้าในประเทศไทย ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆทำให้ความซึมเศร้าและความเครียดเกิดขึ้นได้ทุกแห่ง ทุกเวลา ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การที่มีความเครียดมากเกินไปหรือน้อยเกินไป จะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งในกลุ่มเด็กมีความเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ครอบครัวและเศรษฐกิจ ทำให้เด็กวัยรุ่นเป็นวัยที่พบโรคความผิดปกติทางอารมณ์ได้บ่อย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า ส่งผลให้มีความเครียด วิตกกังวล ทำให้เกิดความท้อแท้สิ้นหวัง เบื่อหน่าย ความรู้สึกที่มีคุณค่าในตนเองลดลง มีภาวะซึมเศร้า ปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางบุคลิกภาพส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคิด การตัดสินใจและการนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของเด็กและวัยรุ่นในประเทศไทย
      ดังนั้น โรงเรียนบ้านเกาะตา ได้เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและค้นหาผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพเด็กวัยเรียนสดใสป้องกันโรคซึมเศร้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะซึมเศร้าและกลุ่มเสี่ยงในกลุ่มเด็ก

เด็กสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเครียดและซึมเศร้าได้

2 เพื่อเพิ่มความรู้สึกคุณค่าในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

เด็กให้ความสำคัญและรู้สึกมีค่ากับตนเองสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ

3 เพื่อให้บริการด้านสุขภาพเบื้องต้นแก่เด็กและเยาวชน

เด็กได้รับบริการตรวจสุขภาพในเบื้องต้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
27 มิ.ย. 66 โครงการสุขภาพเด็กวัยเรียนสดใสป้องกันโรคซึมเศร้า 60 11,410.00 11,410.00
รวม 60 11,410.00 1 11,410.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น     2. เด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันโรคเครียดและซึมเศร้าได้     3. เด็กมีบริการด้านสุขภาพที่ดีขึ้นและลดภาวะโรคซึมเศร้าได้น้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2565 10:17 น.