กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันโรคตาแดง
รหัสโครงการ 66-L2502-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 31 มกราคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กุมภาพันธ์ 2566
งบประมาณ 60,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลมาน๊ะ อูเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคตาแดง (Conjunctivitis) เป็นโรคทางตาที่พบได้บ่อยที่สุด สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็ก วัยเรียน วัยรุ่น วัยทำงาน ผู้ใหญ่ ตลอดจนผู้สูงอายุ และมักเกิดในโรงเรียน โรงพยาบาล ที่ทำงาน สถานเลี้ยงเด็ก ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีผู้คนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก และโรคตาแดง มักจะระบาดในช่วงฤดูฝน และระยะเวลาของโรคจะเป็นประมาณ 5-14 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคตาแดงจากเชื้อไวรัส เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตาจากการติดเชื้อไวรัส เป็นกลุ่มอาดิโนไวรัส (Adenovirus) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด มักพบในช่วงฤดูฝน หรือน้ำท่วม และมักเกิดกับเด็กเล็ก ๆ จะมีอาการตาแดง เคืองตา ตาขาวจะมีสีแดงเรื่อ ๆ เพราะมีเลือดออกที่เยื่อบุตาขาว น้ำตาไหลเจ็บตา มักจะมีขี้ตามากร่วมด้วย โดยอาจเป็นเมือกใสหรือสีเหลืองอ่อน จากการติดเชื้อแบคทีเรียมาพร้อมกัน ต่อมน้ำเหลืองหลังหูมักเจ็บและบวม มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วจะติดต่อมายังตาอีกข้างได้ภายใน 1-2 วัน โรคตาแดงจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาที่เกิดจากการติดเชื้อ S.epidermidis, S.aureus ซึ่งก็ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุตาเช่นเดียวกับเชื้อไวรัส จะมีอาการตาแดง เคืองตา เจ็บตา มีขี้ตามากลักษณะข้น ๆ    แบบหนอง เวลาตื่นนอนตอนเช้ามักมีขี้ตามากจนทำให้เปลือกตาติดกัน แต่อาการจะไม่เฉียบพลันและรวดเร็วเท่าโรคตาแดงจากเชื้อไวรัส โรคตาแดงจากภูมิแพ้ (Allergic Conjunctivitis) เป็นการอักเสบของเยื่อบุตาที่เกิดจากการแพ้ เช่น แพ้เกสรดอกไม้ ฝุ่น ยา ควันบุหรี่ เป็นต้น มักจะเป็น ๆ หาย ๆ บางคนเมื่อเป็นตาแดงแล้วจะมีอาการแทรกซ้อน คือ เคืองตามาก ลืมตาไม่ค่อยได้ มักมีอาการกระจกตาอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งจะดีขึ้นได้ประมาณ 3 สัปดาห์ หรือบางรายเป็น 1-2 เดือน ทำให้ตามัวพร่าอยู่เป็นเวลานาน นอกจากนี้ ในบางคนอาจเป็นตาดำอักเสบ จะมีอาการตามัวลงทั้ง ๆ ที่อาการตาแดงดีขึ้นมากแล้ว หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจเป็นอยู่นานหลายเดือน โรคตาแดง สามารถติดต่อได้ง่าย ๆ โดย การคลุกคลีใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคตาแดง ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดการติดต่อ โรคตาแดง จากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง การใช้เสื้อผ้า หรือสิ่งของร่วมกับผู้ป่วย ฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา แมงหวี่ หรือแมลงวันตอมตาไม่รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะมือและใบหน้าโรคตาแดง จะไม่ติดต่อทางการสบสายตา ทางอากาศ หรือรับประทานอาหารร่วมกัน และอาการต่าง ๆ จะเกิดได้ภายใน    1-2 วัน และระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค    ทั่วประเทศพบผู้ป่วยแล้ว 47,410 ราย และช่วงที่ฝนตกชุกเกือบทุกภาค บางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง การระบาดของโรคตาแดงจากเชื้อไวรัสเนื่องจากสภาพอากาศที่ชื้นแฉะ เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส ได้ง่าย ในพื้นที่ตำบลกาลิซาช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่โรคตาแดง หรือ โรคตาอักเสบพบบ่อย ซึ่งมักเกิดการระบาดในชุมชนที่อยู่ร่วมกัน ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกาลิซา จึงจัดทำโครงการ โรคตาแดง ขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคตาแดง เป็นแนวทางในการป้องกัน และสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ในกรณีเกิดโรคตาแดง และสามารถป้องกันการติดต่อ ไปสู่บุคคลอื่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตาแดงและสามารถป้องกันควบคุมโรคตาแดง

การเกิดโรคตาแดงในของคนในชุมชน

2 เพื่อให้ประชาชนม มีความรู้ ความเข้าใจ วิธีป้องกันโรคตาแดง และรู้วิธีการดูแลรักษากรณีเกิดโรคตาแดง

ประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ วิธีป้องกันโรคตาแดง และวิธีการดูแลรักษาเมื่อเกิดโรคตาแดง

3 เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคตาแดงและโรคติดต่ออื่น ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในชุมชน

อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคตาแดงของคนในชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 เสนอโครงการฯ เพื่อขออนุมัติ 2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการฯ 3 ดำเนินการบูรณาการกับหน่วยงาน ผู้นำชุมชน และกลุ่มองค์กรต่างๆ เช่น อบต.กาลิซา, กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ
4 จัดดำเนินงานโครงการฯ โดยมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ - ติดตั้งป้ายไวนิลรณรงค์ตามจุดที่วางไว้ หมู่ที่ 1 จำนวน 8 จุด
หมู่ที่ 2 จำนวน 15 จุด
หมู่ที่ 3 จำนวน 10 จุด
หมู่ที่ 4 จำนวน 5 จุด
หมู่ที่ 5 จำนวน 12 จุด
หมู่ที่ 6 จำนวน 10 จุด
- แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์การรณรงค์เกี่ยวกับโรคตาแดง ในพื้นที่ตำบลกาลิซา 5 รายงานผลการดำเนินโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนสามารถป้องกัน และเฝ้าระวังตนเองจากการติดเชื้อของโรคตาแดงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2565 10:35 น.