กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการทิ้งขยะได้บุญเทศบาลตำบลตอหลัง ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L3038-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด เทศบาลตำบลตอหลัง
วันที่อนุมัติ 21 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 ธันวาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 51,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮำหมัด หะยีสามะ ตำแหน่ง นักวิชการสาธารณสุขชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตอหลัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.802,101.448place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ม.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 51,600.00
รวมงบประมาณ 51,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 381 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน
1.29
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ
44.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ
50.00
4 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน
3.00
5 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ
3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยตามนโยบายของรัฐบาล โดยขึ้นทะเบียนโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และให้แจ้งอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ดำเนินการถังขยะเปียกในระดับครัวเรือนให้ครอบคุลมทุกครัวเรือน เทศบาลตำบลตอหลัง ได้ดำเนินการโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ในกลุ่มแกนนำชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน, แกนนำหมู่บ้าน, อสม., อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก และประชาชนในเขตเทศบาลตำบลตอหลัง รวมทั้งหมด จำนวน 120 คน สามารถชี้แจงให้กลุ่มแกนนำชุมชนเข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน เป็นการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง ลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปหลุมฝังกลบและลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน และนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้าน เพราะการย่อยสลายของขยะอินทรีย์ในถังขยะเปียกให้กลายเป็นปุ๋ย ซึ่งเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ และสามารถใช้บริบทของชุมชนที่นับถือศาสนาอิสลาม ตามหลักคำสอนเรื่องความสะอาด ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺจะโปรดผู้ที่สำนึกตัวและชอบผู้ที่รักษาความสะอาด” [อัลบะเกาะเราะฮฺ :222] เพื่อสร้างความร่วมมือของประชาชนในการบริหารจัดการขยะ ทิ้งขยะถูกวิธีและลดปริมาณขยะในชุมชน และเข้าร่วมโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน สามารถชี้แจงประชาชนให้เข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการถังขยะเปียก  ลดโลกร้อน และได้รับผลบุญจากการรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

1.29 1.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

44.00 80.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

50.00 80.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

3.00 3.00
5 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

3.00 3.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 ประชุมชี้แจงโครงการฯ(9 ม.ค. 2566-9 ม.ค. 2566) 0.00                    
2 กิจกรรมอบรมการทิ้งขยะได้บุญ(18 ม.ค. 2566-27 ม.ค. 2566) 46,800.00                    
3 ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการทิ้งขยะได้บุญ(18 ม.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 4,800.00                    
4 เยี่ยมเยียนและติดตามผล(30 ม.ค. 2566-31 ส.ค. 2566) 0.00                    
5 สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค์(15 ก.ย. 2566-15 ก.ย. 2566) 0.00                    
รวม 51,600.00
1 ประชุมชี้แจงโครงการฯ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
9 ม.ค. 66 ประชุมชี้แจงโครงการฯ 0 0.00 0.00
2 กิจกรรมอบรมการทิ้งขยะได้บุญ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 381 46,800.00 3 46,800.00
18 ม.ค. 66 กิจกรรมอบรมการทิ้งขยะได้บุญ หมู่ที่ 1 ตำบลตอหลัง 129 16,800.00 16,800.00
20 ม.ค. 66 กิจกรรมอบรมการทิ้งขยะได้บุญ หมู่ที่ 2 ตำบลตอหลัง 98 12,200.00 12,200.00
27 ม.ค. 66 กิจกรรมอบรมการทิ้งขยะได้บุญ หมู่ที่ 3 ตำบลตอหลัง 154 17,800.00 17,800.00
3 ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการทิ้งขยะได้บุญ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 4,800.00 1 4,800.00
18 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ 2 เรื่อง ได้แก่ ป้ายแสดงการกำจัดขยะทั้ง 4 ประเภทและป้ายประโยชน์ของถังขยะเปียก ลดโลกร้อน 0 4,800.00 4,800.00
4 เยี่ยมเยียนและติดตามผล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
8 ส.ค. 66 เยี่ยมเยียนและติดตามผลการใช้การทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อน 0 0.00 0.00
5 สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 0.00
15 ก.ย. 66 สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค์ และรายงานผลการกำจัดขยะในเขตเทศบาลตำบลตอหลัง 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ใช้หลักการศาสนาอิสลามในการกระตุ้นให้ประชาชนสามารถกำจัดขยะถูกวิธี ทิ้งขยะถูกวิธี คัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทาง ง่ายต่อการนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ ลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ต้องส่งไปกำจัด
  2. เพื่อสร้างความร่วมมือของประชาชนให้เข้าร่วมโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน สามารถชี้แจงประชาชนให้เข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน เป็นการจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง การย่อยสลายของขยะอินทรีย์ในถังขยะเปียกให้กลายเป็นปุ๋ยที่นำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปหลุมฝังกลบและลดการเกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
  3. ผู้นำท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครรักษ์โลก และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการลด คัดแยกขยะมูลฝอย โดยเฉพาะที่ต้นทาง ตามนโยบายการคัดแยกขยะที่ต้นทาง “ตอหลังตำบลสะอาดอย่างยั่งยืน” นำไปสู่ “ปัตตานีจังหวัดสะอาดอย่างยั่งยืน”
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2565 13:08 น.