กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร ตำบลอุใดเจริญ ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L5282-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านผัง34 และ รพ.สต.ตำบลอุใดเจริญ
วันที่อนุมัติ 16 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางผุสร์สวดี ศิริหิงค์โค
พี่เลี้ยงโครงการ เลขานุการกองทุนฯ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.903,99.932place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1000 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)
0.00
2 จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย (คน)
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประชากรไทยมีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิา และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู้ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู้ร่างกาย ทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมาเช่นโรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ เป็นต้น ตำบลอุใดเจริญเป้นตำบลหนึ่ง ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตร มากถึงร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช คาดว่ากระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังไม่ได้รับการประเมินภาวะเสี่ยง ผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรว่าอยู่ในระดับใด ประกอบกับเกษตรกรในตำบลอุใดเจริญ ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิะี และขาดความรู้จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านผัง 34 จึงเล็งเห็นความสำคัยของสุขภาพเกษตรกรในตำบลอุใดเจริญจึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองหาสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลอุใดเจริญ ได้รับการตรวจสุขภาพ และเจาะเลือดเพื่อดูปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดว่าอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรที่มีผลต่อสุขภาพ
  1. ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรได้รับการตรวจหาระดับโคลีนเอสเทอเรสในเลือดอย่างน้อยร้อยละ 80
2 เพื่อเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของเกษตรกร
  1. เกษตรกรผู้ผา่นการตรวจฯทราบระดับความเสี่ยงต่อภาวะสารเคมีตกค้างใน เลือด ของตนเอง ร้อยละ 100
  2. เกษตรกรผู้ผ่านการตรวจหาระดับโคลีนเอสเทอเรสในเลือด และมีความเสี่ยงได้รับความรู้และปรับเปลี่ยน พฤติกรรม ร้อยละ 100
3 เพื่อให้เกษตรกรเกิดความรุ้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง
  1. การลดลงของระดับโคลีนเอสเทอเรสของผู้ที่มีความเสี่ยง
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุม อสม. เพื่อเข้าร่วมกันกำหนดแผนงานการลงปฏิบัติในพื้นที่
  2. จัดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรการทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ โดยทีม อสม.
  3. เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโดยการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส
  4. ดำเนินงานตามโครงการ ประสานกับหมู่บ้านในพื่นที่ เพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินงานตรวจสอบหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง
  5. ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเกษตรกร ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย การควบคุม กำกับงานตามโครงการ
  6. แจ้งผลการตรวจพร้อมคำแนะนำที่ถูกต้องของการดูแลสุขภาพ การติดตามและประเมินผลตามวัตถุประสงค์
  7. สรุปผล และรายงานผล การดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านการตรวจคัดกรองหาระดับโคลีนเอสเทอเรส เพื่อประเมินระดับของสารเคมีในเลือด
  2. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลอุใดเจริญ เตือนชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพของเกษตรกรในชุมชน สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2560 15:42 น.