กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดีวิถีไทย วิถีธรรม วิถีเศรษฐกิจพอเพียง เทศบาลตำบลย่านตาขาว ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L8291-1-19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลย่านตาขาว
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,340.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์ยศกร เนตรแสงทิพย์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลย่านตาขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)   โรคเรื้อรังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ การรักษาเป็นเพียงแค่การประคับประคองไม่ให้โรคลุกลามขึ้น และผู้ป่วยต้องรับการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือส่วนใหญ่ต้องรักษาไปตลอดชีวิต ซึ่งนอกจากจะบั่นทอนสุขภาพกายและสุขภาพจิตแล้ว ยังเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจของตัวผู้ป่วยเอง และส่งผลถึงเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมด้วย และหากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมโรคได้ ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงมากถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นภาวะวิกฤตในปัจจุบัน คือ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง ปัจจัยสำคัญที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของ  โรคเรื้อรังนั่นคือ พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลขาดความสมดุล เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารรสหวานจัดและเค็มจัด ไม่รับประทานผักและผลไม้ ไม่ออกกำลังกาย การใช้ชีวิตที่สะดวกสบายเกินไป และการใช้สารเสพติด เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการระบุว่าความเครียดในชีวิตประจำวัน ยังเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้ คนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังคือ ผู้ที่มีคลอเรสเตอรอลสูง ผู้ที่มี ภาวะอ้วน ผู้ที่มีอายุเกิน 35 ปี ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย และผู้ที่มีภาวะเครียดสูง วิถีชีวิต เป็นผลกระทบจากกระแสบริโภคนิยมของประชาชนไทย
ปัจจุบัน อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 3,507 คน และ 8,837 คน และในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว จำนวน 594 คน และ 1,295 คน ตามลำดับ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญ และดำเนินการแก้ไขปัญหา เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย โดยการนำเทคนิค 3ส.(สวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม) 3อ.(อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์-วิถีธรรม) 1น.(นาฬิกาชีวิตวิถีธรรม) หลักธรรมของแต่ละศาสนา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน แก่ประชาชนกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและโรคไวรัสโคโรนา 2019 ทางกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลย่านตาขาว จึงได้จัดทำโครงการสร้างสุขภาพดีวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย เทศบาลตำบลย่านตาขาวขึ้น ในการสร้างสุขภาพดี เพื่อให้ประชาชนกลุ่มป่วย/กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในชุมชนเทศบาลตำบลย่านตาขาว จังหวัดตรัง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม กลุ่มเสี่ยงก็ไม่ป่วย กลุ่มป่วยก็สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ ไม่เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา โดยอาศัยการดูแลตนเองทั้งร่างกาย และจิตใจ ด้วยวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีการติดตามประเมินผลเป็นระยะ และส่งเสริมให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติสุขภาพดีวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงและป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กรณีโรคความดันโลหิตสูงและหรือโรคเบาหวานตามแนวทางการสร้างสุขภาพดีวิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยหลัก 3ส.(สวดมนต์ สมาธิ สนทนาธรรม) 3อ.(อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์-วิถีธรรม) 1น.(นาฬิกาชีวิตวิถีธรรม)

อบรม 1 วัน และการติดตามผลภายหลังร่วมโครงการฯ เป็นเวลา 3 ,6 เดือน ประชากรกลุ่มเป้าหมาย มีภาวะสุขภาพดีขึ้น ได้แก่ 1.น้ำหนักลดลง อย่างน้อย ร้อยละ 70 2.รอบเอวลดลง อย่างน้อย ร้อยละ 50 3.ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง อย่างน้อย ร้อยละ 70 4.ระดับความดันโลหิตสูงลดลง อย่างน้อย ร้อยละ 80

2 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการป้องกันโรคและควบคุมโรค
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานความดัน อย่างน้อยร้อยละ 80
3 3. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงจากปีที่แล้ว
  1. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงจากปีที่แล้ว มากกว่าร้อยละ 5
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 17,340.00 1 17,340.00
3 ม.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 อบรมและฝึกปฏิบัติผู้มีภาวะเสี่ยงและป่วยโรคความดันโลหิตสูงและหรือโรคเบาหวานในเทศบาลตำบลย่านตาขาว 40 17,340.00 17,340.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เทศบาลย่านตาขาว จังหวัดตรัง เป็นเทศบาลต้นแบบสุขภาพดี วิถีใหม่ วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
  2. ประชาชนในเทศบาลตำบลย่านตาขาว มีสุขภาพดีขึ้นด้วยหลักสุขภาพดี วิถีธรรม วิถีไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการ รักษาพยาบาลรายบุคคล ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ
  3. ประชาชนในเทศบาลตำบลย่านตาขาว มีพฤติกรรมในการควบคุม ป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ถูกต้อง
  4. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดและประชาสัมพันธ์ บทเรียนและประสบการณ์ และขยายผลการดำเนินงานไปยังบุคลอื่น ตำบลอื่น ในอำเภอได้อย่างยั่งยืน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2566 13:34 น.