กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย
รหัสโครงการ 66-L8291-1-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลย่านตาขาว
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 1 พฤศจิกายน 2566
งบประมาณ 25,760.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์ยศกร เนตรแสงทิพย์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลย่านตาขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในอดีตที่ผ่านมา ในปี 1990 โลกของเรา มีประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) เพียงร้อยละ 9 สัดส่วนของประชากรสูงอายุได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นร้อยละ 11 ในปี 2010 และเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 13 ในปี 2019 สหประชาชาติได้คาดประมาณว่า ในปี 2040 ประชากรโลกจะมีจำนวน 9,200 ล้านคน และจะมีประชากรสูงอายุเป็นจำนวน 1,738 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 19 ของประชากรโลกทั้งหมด หรือกล่าวได้ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า 1 ใน 5 ของประชากรโลกจะเป็นผู้สูงอายุ ในปี 1990 โลกของเรามีผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) เพียงร้อยละ 1 เท่านั้น ในปี 2020 สหประชาชาติคาดประมาณว่า ผู้สูงอายุวัยปลายจะมี จำนวน 146 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 1.9 ของประชากรทั้งหมด อีก 20 ปี ข้างหน้า ในปี 2040 ผู้สูงอายุวัยปลายจะมีจำนวน 305 ล้านคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 3.3 ของประชากรทั้งหมด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีกำหนดค่าตอบแทนให้กับ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) โดยให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะ พึ่งพิงตั้งแต่ 5-10 คน ได้รับการ สนับสนุน 5,000-6,000 บาทต่อเดือน แต่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเพดาน การจ่ายไม่เกิน 300 บาทต่อเดือน และ ต่อมาปรับเป็นไม่เกิน 1,500 บาท ต่อเดือน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ ที่ดูแล ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงน้อยกว่า 5 คน ได้รับการสนับสนุน ไม่เกิน 600 บาท ต่อเดือนทั้งนี้ แต่ละพื้นที่จะมีวิธีการ บริหารจัดการงบประมาณในส่วนนี้ แตกต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับการ พิจารณาของผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care manager) ด้วยนโยบายดังกล่าว ทำให้ผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้านติดเตียงควร จะได้รับการดูแลจากทีมสหสาขา วิชาชีพจากหน่วยบริการปฐมภูมิและ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล บริการดูแลด้านสุขภาพถึงที่บ้านอย่าง ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยการมีส่วนร่วม ของครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น ส่งผล ให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรีเข้าถึงบริการ อย่างถ้วนหน้าและเท่าเทียม อีกทั้งยัง เป็นการสร้างความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ควบคู่ไปกับการพัฒนาทีมหมอครอบครัว (Family care team) และ อาสาสมัครรูปแบบต่างๆ ในชุมชนแต่ ในความเป็นจริงการดำเนินงานยังมีปัญหาและอุปสรรคอีกมาก (มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล) ศาสตร์การดูแลรักษาสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย สามารถนำมาใช้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบ  องค์รวมตามหลักของธรรมานามัยคือ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย คือ กายานามัยเป็นหลักการป้องกันก่อนเจ็บป่วย เช่น การรับประทานอาหาร การใช้สมุนไพร การออกกำลังกายด้วยท่าบริหารฤาษีดัดตน เป็นต้น จิตตานามัยเป็นหลักการบริหารจิต ด้วยทาน ศีล ภาวนา ส่วนชีวิตานามัยเป็นหลักการ ดำเนินชีวิตชอบ เดินสายกลาง ตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียง อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และควรมี กิจกรรมเสริมคุณค่าให้ผู้สูงอายุสามารถแสดงออกถึงศักยภาพของตนเอง และเห็นความสำคัญของการช่วยเหลือผู้สูงอายุอื่นให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงควรมีการศึกษาว่าการดูแลสุขภาพแบบแผนไทยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุควรมีลักษณะเช่นไร สามารถนำมาพัฒนา เป็นหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เห็นคุณค่าในตนเอง และสามารถนำไปใช้ดูแลสุขภาพตนเองและผู้สูงอายุอื่นได้มากน้อยเพียงใด ในปี 2565 จังหวัดตรังมีประชากรทั้งหมด 639,788 คน มีผู้สูงอายุจำนวน 158,271 คน คิดเป็นร้อยละ 24.73 ของประชากรทั้งหมด และในอำเภอย่านตาขาวมีประชากรทั้งหมด 64,373 คน มีผู้สูงอายุจำนวน 14,069 คน คิดเป็นร้อยละ 21.85 (HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง) จากสถานการณ์ของผู้สูงอายุในอำเภอย่านตาขาว งานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลย่านตาขาว เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้านการแพทย์แผนไทย ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้านการแพทย์แผนไทย เพื่อส่งเสริมให้แกนนำอสม. มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น การทำยาหม่องไพลลดอาการปวดเมื่อย การดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นด้วยสมุนไพร เพื่อให้ผู้สูงอายุมีผู้ดูแลแบบใกล้บ้าน ทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ลดการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมความรู้ให้แก่แกนนำสุขภาพชุมชน ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้านการแพทย์แผนไทย
  1. ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทยได้อย่างถูกต้อง
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้แกนนำสุขภาพชุมชน นำความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยดูแลผู้สูงอายุได้
  1. ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพชุมชน สามารถนำความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยไปดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้
3 ข้อที่ 3 แกนนำสุขภาพชุมชน มีความพึงพอใจ
  1. ร้อยละ 80 ของแกนนำสุขภาพชุมชน มีความพึงพอใจ
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 25,760.00 2 25,760.00
23 ส.ค. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ (กิจกรรมการสาธิตการทำยาหม่องไพลลดอาการปวดเมื่อย/กิจกรรมบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตนและการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นด้วยสมุนไพร) 40 13,720.00 13,720.00
24 ส.ค. 66 อบรม ให้ความรู้ (กิจกรรมบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตนและการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นด้วยสมุนไพร) 40 12,040.00 12,040.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

แกนนำสุขภาพชุมชน มีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะความเชื่อมั่นในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้านการแพทย์แผนไทยได้อย่างถูกต้อง และสามารถพัฒนางานผู้สูงอายุในชุมชนให้เหมาะสมตามบริบท

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2566 13:58 น.