กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลูกแม่ปลอดภัยชุมชนร่วมใส่ใจดูแลเขตเทศบาลย่านตาขาว
รหัสโครงการ 66-L8291-2-28
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาว
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2023 - 30 กันยายน 2023
กำหนดวันส่งรายงาน 1 พฤศจิกายน 2023
งบประมาณ 10,580.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา อัตบุตร ตำแหน่ง ประธาน อสม.เทศบาลตำบลย่านตาขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพประชากร  ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ การดูแลระหว่างการตั้งครรภ์และการดูแลหลังคลอดเพื่อให้ การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงต่อเนื่องรวมถึงการให้บริการการดูแลเด็กในช่วงปฐมวัย 0 – 5 ปี เพื่อให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมวัย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ “ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย” โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้แก่ การดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนมีความพร้อมในการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่สลับซับซ้อนของระบบต่างๆของร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ตั้งแต่เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ เพื่อให้ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่างๆและได้รับการดูแลครรภ์ตามมาตรฐานตลอดการตั้งครรภ์ การคัดกรองภาวะเสี่ยงต่างๆในระหว่างตั้งครรภ์ สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นกับมารดาและทารกได้ โดยเฉพาะปัญหามารดาซีดก่อนคลอด การคลอดก่อนกำหนด ทารกคลอดน้ำหนักน้อยและการตายของมารดาและทารกปริกำเนิด ปัญหาการตั้งครรภ์เหล่านี้เป็นผลโดยตรงมาจากการปรับตัว    ที่ไม่เหมาะสมของหญิงตั้งครรภ์ เกิดภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ การดูแลตนเองที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน การฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ รวมถึงความพร้อมของจิตใจเพื่อรองรับบทบาท หน้าที่และภาพลักษณ์ใหม่ที่เกิดขึ้น     สถานการณ์ด้านงานอนามัยแม่และเด็ก เขตตำบลย่านตาขาว 3 ปี ย้อนหลัง
สถานการณ์ เป้าหมาย 2563 2564 2565 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรก ≤ 12 สัปดาห์ ≥ 75 90.48 73.91 68.18 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ≥ 75 85.71 73.91 68.18 ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ซีดใกล้คลอด < 16 20.00 11.11 10.53 ร้อยละมารดาคลอดก่อนกำหนด < 9 9.09 3.03 1.87 ร้อยละของหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้ง ตามเกณฑ์ ≥ 75 90.48 77.27 76.00 ร้อยละของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม < 7 4.17 0.00 16.67 ร้อยละเด็กต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว ≥ 50 NA 76.47 57.14     จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงการการติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ ตลอดจนแม่และทารกหลังคลอดอย่างต่อเนื่องครอบคลุมถึงสังคม ชุมชนและครอบครัว เพื่อให้การติดตามดูแลดังกล่าวเป็นไปได้ตามแนวทาง ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัยและเด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมวัย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ชุมชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการลูกแม่ปลอดภัย ชุมชนร่วมใส่ใจดูแลเขตเทศบาลตำบลย่านตาขาวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อดำเนินงานกลุ่มแม่อาสาในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

1.ชุมชนมีกลุ่มแม่อาสาอย่างน้อย  1 กลุ่ม

2 2. เพื่อฟื้นฟูความรู้ ความเข้าใจและทักษะที่จำเป็นในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดและทารกหลังคลอดให้กับกลุ่มแม่อาสา
  1. แม่อาสามีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะที่ถูกต้อง
    ร้อยละ 85
3 3. เพื่อรณรงค์ให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์และได้รับการฝากครรภ์เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์
  1. อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์  ≥  ร้อยละ 75
4 4. เพื่อติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดและทารกหลังคลอดได้อย่างต่อเนื่องจากสถานบริการสู่ชุมชน ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่ส่งผลให้เกิดอันตรายแก่ หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดและทารกหลังคลอด

4.1 อัตราการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ให้ ≥ร้อยละ 75 4.2 อัตราหญิงตั้งครรภ์ได้รับยาไอโอดีนหรือโฟลิกให้ได้ ร้อยละ 100 4.3 อัตราหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางใน Lab ANC ครั้งที่ 2 ให้ < ร้อยละ 16 4.4 อัตราการคลอดก่อนกำหนดให้ < ร้อยละ 9 4.5 อัตราทารกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมให้ < ร้อยละ 7 4.6 อัตราหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ≥ ร้อยละ 75 4.7 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนให้ > ร้อยละ 50 4.8 อัตรามารดาตายเท่ากับ 0 4.9 อัตราทารกตายปริกำเนิดเท่ากับ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 25 10,580.00 1 10,586.00
3 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรม ให้ความรู้ 25 10,580.00 10,586.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ครอบครัว ชุมชน สังคม ร่วมดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ ดูแลครรภ์อย่างต่อเนื่องไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ส่งผลให้ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กมีการเจริญเติบโตสมส่วน พัฒนาการสมวัยเป็นอนาคตที่ดีมีคุณภาพของชุมชนต่อไป โดยมีกลุ่มแม่อาสา อสม.ในชุมชนเป็นผู้ประสานความดูแลจากสถานบริการสู่ชุมชนมีรูปแบบที่ชัดเจน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2023 11:35 น.