กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลลูกให้ปลอดภัยด้วยวัคซีน 2566
รหัสโครงการ 66-L2983-02-009
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.รพ.สต.ปากล่อ
วันที่อนุมัติ 27 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เมษายน 2566 - 15 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 4 กันยายน 2566
งบประมาณ 36,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัชวาลย์ เจริญนุมัติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.62,101.187place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 มิ.ย. 2566 15 ส.ค. 2566 36,450.00
รวมงบประมาณ 36,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยการให้วัคซีนในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ เพราะเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในอนาคต หากเด็กไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับแต่ไม่ครบตามเกณฑ์ จะส่งผลทำให้เด็กมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งอาจเป็นโรคที่มีความรุนแรงถึงชีวิตได้ บิดา มารดาและครอบครัวยิ่งต้องเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงดูเด็ก หากยังขาดความรู้ความเข้าใจ ปล่อยปละละเลยไม่เห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีน และการแจ้งเกิดก่อนเข้าสู่ระบบนัดวัคซีน ก็จะส่งผลต่ออนาคตเด็ก การประกอบอาชีพของผู้ปกครอง เพราะต้องเสียเวลาในการดำเนินการดังกล่าว กรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้เด็กในแต่ละช่วงอายุควรได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ โดยความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในแต่ละช่วงอายุ ต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 90 จากผลการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเขตตำบลปากล่อ ยังมีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์มากในปี 2565 แม้จะมีการปรับกระบวนการเข้าถึงผู้ดูแล แต่ก็ต้องมีการปรับตามสถานการณ์และบริบทของพื้นที่ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต้องต้องร่วมกับเจ้าหน้าที่สาสุขฯจักต้องให้ความรู้ คำแนะนำ แก่บิดา มารดาและครอบครัว ให้เห็นถึงความสำคัญของการแจ้งเกิด ขั้นตอนการเข้าระบบนัดวัคซีนกับคุณแม่มือใหม่ การได้รับวัคซีนตามวัย มีความรู้ในการรับวัคซีนตัวใหม่ที่จะมีขึ้น (covid-19) จากเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้น อสม.แกนนำวัคซีนตำบลปากล่อ ได้เล็งเห็นปัญหา จึงมีความจำเป็นยิ่งที่ต้องให้ความรู้ปรับทัศนะคติความเข้าใจฟื้นฟูความรู้ของผู้ปกครองเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ในพื้นที่เพื่อให้นำบุตรหลานมา เพื่อให้ได้รับวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ เพื่อลดอัตราการไม่ได้แจ้งเกิด การป่วยเป็นโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ผู้ปกครองและผุ้ดูแลเด็กมีความรู้หลังจากการอบรม 2. แกนนำติดตามเรื่องวัคซีนและหญิงตั้งครรภ์เข้าใจระบบการแจ้งเกิดก่อนเข้าสู่ระบบนัดวัคซีนรายใหม่ 3. ติดตามวัคซีน กรณีเด็กขาดวัคซีน (สองครั้ง/เดือน)

-สังเกตจากการตอบซักถาม ของผู้ปกครอง (เป้าหมายร้อยละ๘๐) -สังเกตจากยอดเด็กหลังได้รับวัคซีนไม่มีการป่วยมากเกิน ๒ วัน จากยอดผู้มารับบริการในแต่ละเดือนของเดือน -สังเกตจากการซักถาม ของผู้เข้าร่วมอบรม (เป้าหมายจากการซักถาม ร้อยละ๘๐/ยอดผู้เข้าอบรม -วัดจากจำนวนเป้าหมายทั้งหมดที่ไม่มารับวัคซีน (เป้าหมาย ร้อยละ.../จำนวนเด็กที่ไม่มารับวัคซีน....คน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก ๐-๕ ปี ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์อายุ
  2. อัตราป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง
  3. ชุมชนมีความตระหนักในการแจ้งเกิดตามเกณฑ์และทราบถึงบทบาทในการทำงานด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2566 09:52 น.