กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก เทศบาลตำบลต้นไทร ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 11 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 67,525.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกฤษดา วงศ์ภูวรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ 333 ม.1 ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลต้นไทร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์เพื่อให้มีการตั้งครรภ์และการคลอด/หลังคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยมีสุขภาพแข็งแรงไม่เกิดโรคภาวะแทรกซ้อน ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม เป็นปัญหาที่สำคัญของงานอนามัยแม่และเด็กในประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่๗จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่๙ได้กำหนดเป้าหมายทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ไม่เกินร้อยละ ๗ จากผลการดำเนินงาน งานอนามัยแม่และเด็กในปี 2563 อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ภาพรวมได้ร้อยละ 9.09 และอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ในไตรมาตรแรก ปี 2564 ร้อยละ 10.71และพบว่าอัตราวัยรุ่นตั้งครรภ์ ร้อยละ 14.28 และพบว่าสถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามารดาไม่สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่วัยรุ่นจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้ที่มีอายุเกินกว่า ๒๐ ปี เช่น ภาวะโลหิตจางความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนดสูง เจ็บครรภ์คลอดนานการคลอดโดยใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม และทารกตายในครรภ์ อัตราตายของมารดาอายุ ๑๕-๑๙ ปี สูงกว่ามารดาที่มีอายุ ๒๐-๒๔ ปี ถึง ๓ เท่า และวัยรุ่นยังไม่พร้อมด้านจิตใจสำหรับการเป็นแม่เมื่อไม่พร้อมในการเป็นแม่จึงฝากบุตรไว้กับญาติหรือผู้ดูแลเด็ก โดยการให้กินนมผสม ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจตามมานอกจากนี้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมอีกด้วยคือการต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ไม่มีงานทำ ค่ารักษาพยาบาลขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเหล่านี้ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งแม่วัยรุ่นและบุตรที่เกิดมา ผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ ทั้งกาย จิต การศึกษาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทั้งต่อตัววัยรุ่นเอง ครอบครัวและสังคมไทยในภาพรวม ซึ่งก็ยังเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงและส่งผลต่อสุขภาพแม่และเด็ก
ดังนั้นปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนถึงภาวะ คลอดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยทุกภาคส่วนที่ต้องอาศัย ความร่วมมืออย่างจริงจัง เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๕๘) ที่เน้นการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดีในกลุ่มประชากรวัยรุ่นและเยาวชนก่อน ซึ่งจะส่งผลต่อการลดการ ตั้งครรภ์ การติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ในประชากรวัยนี้ ดังนั้นจึงมีความ จำเป็นที่จะต้องเร่งการดำเนินงานแบบบูรณาการในบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาการ ตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ป้องกันภาวะคลอดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และให้ความรู้แก่ อสม. เพื่อคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างเสริมทักษะให้แก่อาสาสมัครประจำหมู่บ้านให้มีความรู้ด้านสุขภาวะทางการตั้งครรภ์ และสามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้รวดเร็วและถูกต้อง 2. เพื่อแก้ไขปัยหาทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมให้ผ่านเกณฑ์ 3. เพื่อสร้างความตระหนักให้หยิงตั้งครรภ์และชุมชนเห็นความสำคัญของปัยหาที่เกิดขึ้นแก่หญิงตั้งครรภ์ 4. เพื่อส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลุกด้วยนมแม่อย่างเดียว อย่างน้อย 6 เดือน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ภาคเครือข่ายสามารถดำเนินการงานอนามัยแม่และเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2566 11:19 น.