กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กและเยาวชนในชุมชนตำบลดุซงญอประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รหัสโครงการ 66-L2476-02-043
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลดุซงญอ
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 พฤศจิกายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 40,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลรอซัค บาโด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการติดยาเสพติด เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เที่ยวกลางคืน รวมกลุ่มมั่วสุม ติดเกมส์
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันวัยรุ่นและเยาวชนส่วนใหญ่มีปัญหาหลายอย่างที่ตนไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยตนเองบางครั้งอาจจะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการผิดๆไม่มีการคิดวิธีการแก้ไขปัญหากันอย่างถูกต้อง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยเริ่มจากการให้ความสำคัญกับพวกเขาให้เขาได้มีโอกาสในการแสดงตวามคิดเห็นเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาวัยรุ่นเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ที่มักจะประสบปัญหาคือเขาไม่มีตวามรู้ในเรื่องของสิ่งที่ถูกหรือผิดไม่มีคนมาให้ความรู้ให้คำปรึกษาที่ถูกและชี้แนะแนวทางการแก้ไขหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยการคิดที่ขาดการยั้งคิดปัญหาส่วนใหญ่ เช่น ติดยาเสพติด ติดเกมส์ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาความรุนแรงของเด็กและสตรี ค่านิยมความทันสมัยตามโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ เยาวชนเมื่อประสบพบเจอกับปัญหาต่าง ๆ ส่วนใหญ่มักปรึกษาเพื่อนเชื่อเพื่อนเพราะคิดว่าเพื่อนเป็นที่พึ่งให้แก่ตนได้ทั้งหมดเป็นความคิดที่ผิดความจริงแล้วเมื่อเกิดปัญหาคนที่ควรไปขอคำปรึกษาคือ พ่อ แม่ เพราะพ่อแม่เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับเรามากที่สุดและสามารถให้คำปรึกษาได้ทุกเรื่อง สารเสพติดในปัจจุบันสารเสพติดเป็นสิ่งที่ทำลายทรัพยากรบุคคลของชาติโดยเฉพาะกลุ่มของวัยรุ่นและเยาวชนซึ่งเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตพร้อมที่จะเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ แต่กลับติดยาเสพติดจนเสียสุขภาพ สมองเสื่อม ไม่สามารถเรียนหนังสือหรือประกอบอาชีพได้กายเป็นภาระให้ครอบครัวและสังคม ซึ่งส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศชาติในทุก ๆ ด้าน เช่น ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และความปลอดภัยเนื่องจากขาดทรัพยากรบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญไปดังนั้นเราจึงควรมีวิธีป้องกันตนเองให้พ้นภัยจากสารเสพติด 1. ไม่ทดลองเสพสารเสพติดทุกชนิด 2. เมื่อมีเพื่อนชวนให้เสพสารเสพติดต้องปฏิเสธอย่างจริงจัง และหลีกเลี่ยงการคบเพื่อนที่ชักจูงไปเสพสารเสพติด 3. ถ้ารู้ว่าเพื่อนกำลังจะหลงผิดคิดไปเสพสารเสพติด ควรแนะนำให้เพื่อนหลีกเลี่ยงโดยบอกให้รู้ถึงโทษของ สารเสพติดถ้าไม่ได้ผลก็ควรแจ้งพ่อแม่หรือผู้ปกครองของเพื่อนที่จะช่วยกันแก้ปัญหาได้ทันการ วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังศึกษาเล่าเรียนเรื่องบางเรื่องจึงยังไม่ถึงวัยอันควรที่จะรับรู้หรือปฏิบัติกันโดยเฉพาะในเรื่องของการคบเพื่อน การอยากทดลองสารทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นสิ่งต้องห้าม อาจคิดว่าตนเองทันสมัยยอมรับเอาค่านิยมที่ไม่เหมาะสมเข้ามาโดยไม่คำนึงถึงความสำคัญของการดูแลตนเองคิดว่าครั้งเดียวคงไม่ติด แค่เป็นการทดลองเพื่อให้กลุ่มเด็กและเยาวชนหลีกเลี่ยงจากพฤติกรรมเหล่านั้น สำหรับวัยรุ่นที่จะต้องนึกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สุขภาพ และอนาคตของตนเอง ไม่ปล่อยให้ตนเองตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อสารเสพติด และอาจส่งผลกระทบไปถึงคนรอบข้างและครอบครัวด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กและเยาวชนไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

 

0.00
2 เพื่อให้ชุมชน หน่วยงาน มีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนส่งเสริมสุขภาพเยาวชนในชุมชนร่วมกัน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 40,300.00 2 40,300.00
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรม อบรมให้ความรู้ แนวทางการป้องกันการทดลองยาเสพติด/โรคติดต่อในการเสพยาร่วมกัน (วันที่ 1) 0 30,300.00 30,300.00
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรม สร้างสรรค์/จิตอาสา และเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเด็กและเยาวชนโดยการแบ่งกลุ่ม 0 10,000.00 10,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนมีความรอบรู้ในการเข้าถึงสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณ
  2. ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดี มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้สึกกันมากขึ้น.
  3. ชุมชนมีความตื่นตัวในการส่งเสริมความเข็มแข็งของครอบครัว 4.เยาวชนไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด และไม่มั่วสุมกันทดลอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2566 00:00 น.