กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร่วมใจรณรงค์ และป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ L2975
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลโคกโพธิ์ (อสม.)
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 41,175.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอารง สตาปอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.732,101.061place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธาณณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันนณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ก็พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา       ตำบลบ้านโคกโพธิ์ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่พบปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านสามยอดมีจำนวน 6 หมู่บ้าน การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมาก จะพบผู้ป่วยในช่วงมีนาคม-กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่ 1 และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยจากความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง       ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุก โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาและความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง  จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างบุคคลในครัวเรือน ชุมชน มัสยิด โรงเรียน 2. เพื่อให้ทุกฝ่ายในชุมชน มีความเข้าใจ ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก และเห็นความสำคัญของการควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก ๓. เพื่อลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย ที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก - สถานบริการสาธารณสุข ศพด. โรงเรียน มีค่า CI เท่ากับ ๐ - ครัวเรือนในชุมชน ร้อยละ ๘๐ มีค่า HI น้อยกว่าหรือเท่ากับ ๑๐ 4. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดความร่วมมือระหว่างบุคคลในครัวเรือน ชุมชน และโรงเรียน
  2. ทุกฝ่ายในชุมชน มีความเข้าใจ ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก และเห็นความสำคัญของการควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก
  3. ความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย ที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก ในชุมชนลดลง
  4. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ให้ลดลงจากค่ามาตรฐาน ๕ ปี ย้อนหลัง หรือไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร
  5. แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชน วัด โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ถูกกำจัด สภาพแวดล้อมได้รับการปรับปรุง ไม่ให้เอื้อต่อการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2566 13:42 น.