กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลท่าเรือ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 6 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 101,140.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มชมรม อสม. หมู่ที่ 1
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าเรือ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.803,99.917place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกได้แพร่ระบาดเกือบทุกจังหวัดในประเทศไทย และในทุกปีของจังหวัดสตูลพบผู้ป่วยกระจายทั่วถึงทุกอำเภอ ในปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมา พื้นที่ตำบลท่าเรือ พบผู้ป่วยไข้เลือดออกหรือผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคไข้เลือดออก จำนวน 15 ราย ลดลงจากปีงบประมาณ 2559 จำนวน 112 ราย และในปีงบประมาณ 2561 คาดว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกหรือผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคไข้เลือดออกจะมีแนวโน้มการระบาดด้วยโรคดังกล่าวในปีงบประมาณ 2561 น่าจะมีการระบาดเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมาทีมป้องกันและควบคุมโรคตำบลท่าเรือ ได้ร่วมกันดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ อย่างเข้มแข็งแล้วก็ตาม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องรีบเร่งปลุกจิตสำนึกให้กับประชาชนหรือครัวเรือนในพื้นที่ รวมถึงกลุ่มหรือองค์กรต่างๆ ได้แก่ สถานีอนามัย องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก มัสยิด และสำนักสงฆ์ ให้เกิดความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มากขึ้น เพื่อที่จะลดอัตราการป่วยและตายจากโรคดังกล่าวได้ ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครธารณสุขหมู่ที่ 1 ตำบลท่าเรือ จึงเล็งเห็นถึงอันตรายของการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เพื่อให้การป้องกันและควบคุมโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลท่าเรือ ประจำปีงบ ประมาณ 2561 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทั้งในโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก และในชุมชน

ร้อยละ 70 ลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทั้งในโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก และในชุมชน

2 ๒. เพื่อให้การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพ และลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 70 ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพ และลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

0.00
3 ๓. เพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำวิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนทั่วไป

ร้อยละ 70 ประชาสัมพันธ์และแนะนำวิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนทั่วไป

0.00
4 ๔. เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคเลือดออก

ร้อยละ 70 ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคเลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑. เพื่อลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทั้งในโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก และในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : ๒. เพื่อให้การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพ และลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : ๓. เพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำวิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนทั่วไป

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : ๔. เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคเลือดออก

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

๑. จัดทำประชาคมสุขภาพตำบลท่าเรือ เพื่อหามาตรการการดำเนินงานการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ๒. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการบริหาร สปสช. ตำบลท่าเรือ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ ๓. อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ พร้อมกับรณรงค์ประชาสัมพันธ์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนทุกหลังคาเรือน (Big Cleaning Day) โดยอาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปีละ ๑ ครั้ง
๔. ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานศึกษา และศูนย์เด็กเล็ก ร่วมกับครูและนักเรียนพร้อมแจกทรายอะเบทแก่สถานศึกษา เพื่อใช้ในสถานศึกษา และมอบให้นักเรียนนำกลับไปใช้ที่บ้าน ๕. พ่นหมอกควันในสถานศึกษาและศูนย์เด็กเล็ก จำนวน ๒ ครั้ง ในช่วงของการปิดเทอมและเดือนแรกของการเปิดเทอม โดยทีม SRRT ตำบลท่าเรือ ๖. พ่นหมอกควันในกรณีที่มีผู้ป่วยหรือสงสัยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้น โดยพ่นหมอกควันในรัศมีรอบบ้านผู้ป่วยประมาณ ๑๐๐ - ๑๕๐ เมตร จำนวน ๒ - ๓ ครั้งในช่วงระหว่างวันที่ ๑ - ๗ โดยทีม SRRT ตำบลท่าเรือ ๗. ในกรณีมีผู้ป่วย ให้มีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รอบบ้านผู้ป่วยประมาณ๑๐๐ - ๑๕๐ เมตร โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๘. พ่นหมอกควันครอบคลุมทั้งหมู่บ้าน/ตำบล ในกรณีที่มีการระบาดอย่างรุนแรง โดยทีม SRRT ตำบลท่าเรือ พร้อมกับรณรงค์ประชาสัมพันธ์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก และชุมชน ได้รับการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ๒. การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้ ๓. ประชาชนมีความรู้ และตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก
๔. ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคเลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2560 10:16 น.