กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยสุขภาพดี ชีวีมีสุข ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L4117-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองน้ำใส
วันที่อนุมัติ 28 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 27,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซัยนี สะมะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 มี.ค. 2566 29 ก.ย. 2566 27,320.00
รวมงบประมาณ 27,320.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการในเด็กช่วงอายุ0 - 5 ปีเป็นช่วงที่มีอัตราของการพัฒนาสูงด้วยเหตุนี้พ่อแม่ผู้ปกครองผู้เลี้ยงดูเด็กรวมถึง อสม. ในพื้นที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญให้มากจึงจะช่วยส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ จากการการดำเนินงาน การติดตามประเมินภาวะโภชนาการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส3 ปี ย้อนหลัง พ.ศ. 2563 – 2565 เด็กที่มีภาวะโภชนาการไม่ดี มีผลต่อการพัฒนาด้าน สติปัญญาและพัฒนาการของเด็ก จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนยังไม่เห็นความสำคัญของการดูแลโภชนาการและไม่มีความรู้ในการปรับอาหารให้เหมาะกับภาวะสุขภาพของบุตรหลาน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี ทำให้ผู้ปกครองมุ่งประกอบอาชีพ หารายได้มากกว่า จึงทำให้เด็กเล็กได้รับการดูแลด้านโภชนาการได้น้อยลงไปอีก และถึงแม้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจะคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการทุก ๆ 3 เดือน ตามที่ได้วางแผนไว้กับทีมสุขภาพก็พบว่า อุปกรณ์ในการคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ทำให้ไม่สามารถคัดกรองได้ครอบคลุมในช่วงเวลาจำกัดจากการสอบถามผู้ปกครองพบว่า มีผู้ปกครองเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีการเตรียมอาหารมื้อเช้าแก่เด็กโดยประกอบอาหารเอง ผู้ปกครองส่วนใหญ่ซื้ออาหาร เช่น ขนมขบเคี้ยว ไส้กรอก ให้เด็กรับประทานเป็นอาหารมื้อเช้า ซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย ส่งผลให้เด็กมีภาวะโภชนาการต่ำ ทีมผู้วิจัยจึงเห็นว่าการส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการให้แก่ทีมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และจัดหาอุปกรณ์ในการติดตามภาวะโภชนาการให้เพียงพอและการส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการ การแนะนำการประกอบอาหารอย่างง่ายโดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่แก่ผู้ปกครอง รวมถึง การสนับสนุนให้มีการปลูกผักเสริมธาตุเหล็กในครัวเรือน เป็นจุดเริ่มต้นที่จะกระตุ้นให้ผู้ปกครองหันมาสนใจบุตรหลานด้านโภชนาการมากขึ้น เป็นแนวทางและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ปกครองสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้บุตรมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 เด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น 8.2 ผู้เลี้ยงดูมีความรู้และสามารถปรับเมนูอาหารได้เหมาะสมตามวัยโดยใช้วัตถุดิบที่หาง่ายในพื้นที่ 8.3 ผู้ปกครองเด็กมีความรู้เรื่อง ความเข้าใจ สามารถประเมินภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ตามคู่มือสมุด บันทึกสุขภาพเล่มสีชมพูได้ 8.4 ผู้ปกครองเด็กสามารถนำความรู้การปลูกผักเสริมธาตุเหล็กจากวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน ไปปฏิบัติไม่ น้อยกว่าร้อยละ 90

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2566 14:21 น.