กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็กปฐมวัยขององค์กรปกครองท้องถิ่น
รหัสโครงการ 66-L4159-3-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบต.ท่าธง
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 มีนาคม 2566 - 15 มีนาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2566
งบประมาณ 47,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวดูนียานา หะยีสะมะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.576355,101.421297place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัย
120.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาของเด็กปฐมวัยประกอบด้วย ปัญหาทั้งด้านสุขภาพและความปลอดภัย มีสาเหตุมาจากตัวเด็กเองและสภาพแวดล้อม ตลอดจนปัจจัยในการเลี้ยงดูและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ปัญหาอาจเกิดได้ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ผู้ปกครองและครูจึงต้องรู้เท่าทันภูมิหลังด้านสุขภาพของเด็ก และมีความรอบคอบในการเตรียมรับมือ กรณีที่เกิดปัญหาด้านสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กแต่ละคน โดยเฉพาะการระมัดระวังการแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทัน และเกิดความปลอดภัยแก่เด็กมากที่สุด อาจกล่าวได้ว่าสุขภาพและความปลอดภัย เมื่อนำมาพิจารณารวมกันแล้ว ย่อมหมายถึง ทั้งชีวิตของเด็ก ด้วยเหตุนี้ กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม จึงมุ่งเน้นและตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมการออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพในช่องปาก การป้องกันควบคุมโรคติดต่อในเด็กอย่างเข้มข้น เช่น โรคมือเท้าปาก โรคตาแดง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็กปฐมวัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพและสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กปฐมวัย ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัย และการรู้จักการดูแลสุขภาพร่างกายได้ด้วยตนเอง รวมถึงเป็นการจัดกิจกรรมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองมีความเข้าใจหลักการดูแลสุขอนามัยในเด็กปฐมวัยที่ดี

1 ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองอย่างน้อยร้อยละ 75 มีความเข้าใจหลักการดูแลสุขอนามัยในเด็กปฐมวัยที่ดี

120.00 90.00
2 2 เพื่อลดอัตราการป่วยจากโรคมือเท้าปากและโรคฟันผุในเด็ก

2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีอัตราการป่วยของเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปากและโรคฟันผุลดลงอย่างน้อยละ 75

120.00 90.00
3 3 เพื่อให้เด็กปฐมวัยรู้จักวิธีการออกกำลังกายอย่างง่ายๆเล่นกีฬาตามความเหมาะสม ส่งเสริมพัฒนาการแห่งวัยที่เหมาะสมวัย

3 เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างน้อยร้อยละ 80 รู้จักการออกกำลังกายเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่

120.00 96.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 47,750.00 5 47,750.00
1 มี.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 จัดประชุมบุคลากรกองการศึกษาฯ 0 350.00 350.00
1 มี.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 อบรมให้ความรู้ 0 32,900.00 32,900.00
1 มี.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 เด็กปฐมวัยเล่นกีฬาพาเพลิน 0 9,000.00 9,000.00
1 มี.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 จัดบอร์ดความรู้การดูแลสุขภาพร่างกายและการดูแลสุขภาพในช่องปาก 0 5,000.00 5,000.00
1 มี.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 คัดกรองด้านสุขภาพและประกวดหนูน้อยสุขภาพดี 0 500.00 500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจหลักการดูแลขอนามัยด้านร่างกาย ด้านสุขภาพช่องปากที่ดี 2 ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็ก 3 เด็กปฐมวัยรู้จักวิธีการออกกำลังกายอย่างง่ายๆ เล่นกีฬาที่เหมาะสมตามวัย ส่งเสริมพัฒนาการแห่งวัยของเด็ก 4 เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพอนามัยที่ดีทุกคน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2566 00:00 น.