กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ รู้ทันโรคตาแดงและโรคติดต่ออื่นที่เป็นปัญหาในชุมชน
รหัสโครงการ 66-L4159-05-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.รพ.สต.ท่าธง
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 ธันวาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2566
งบประมาณ 30,464.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรูวัยดา เด็นหะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.574234,101.431618place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 โรคติดต่อตาแดง
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโต ได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคตาแดง โรคติดต่อทางระบบหายใจ(ไข้หวัดใหญ่, โควิด-19) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ(ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ(อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือ เท้า ปาก,โรคหัด,โรคสุกใส, ฉี่หนู) โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ปี2565 ในพื้นที่หมู่ที่ 1,2,3 และม.7 ตำบลท่าธงได้มีการะบาดของโรคตาแดง มีผู้ป่วยโรคตาแดงจำนวน 65 ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าธง และโรงพยาบาลรามัน และพบว่ามีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ทำให้ยาหยอดตา เกิดการขาดแคลน ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย และนอกจากนี้ยังพบว่าในปี 2565 ในพื้นที่หมู่ที่ 1,2,3 และ 7 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 3 ราย โรคสุกใส 1 ราย โรคฉี่หนู 1 ราย โรคมือเท้าปาก 1 ราย และโรคโควิด-19 จำนวน 5 รายซึ่งแนวโน้มในปี 2566 จะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก โรคฉี่หนูและโรคติดต่ออื่นๆ รวมถึงโรคตาแดงการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้อง รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพประกอบกับการที่ประชาชนมีความรู้ถึงการป้องกันตนเองและคนในครอบครัวจากโรคติดต่อ จะส่งผลให้เกิดการแก้ไขปัญหาของโรคอย่างยั่งยืน
ดังนั้น ทางชมรมอสม.รพ.สต.ท่าธง จึงได้จัดทำโครงการ รู้ทันโรคตาแดงและโรคติดต่ออื่นที่เป็นปัญหาในชุมชนเพื่อส่งเสริมประชาชนสามารถป้องกันตนเองมิให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ เพื่อ พัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังโรค รวมถึงมีการจัดหายารักษาโรคตาแดง เพื่อแจกจ่ายแก่ผู้ป่วยในพื้นที่เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้หายจากโรคที่กำลังเกิดการระบาด และเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำครอบครัวมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคตาแดงและโรคติดต่ออื่นๆในชุมชน เช่น โรคไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคมือเท้าปาก โรคหัด โรคสุกใส เป็นต้น

แกนนำครอบครัวมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคตาแดงและโรคติดต่ออื่นๆในชุมชนฯ ร้อยละ 80

100.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคตาแดงได้รับยาหยอดตาเพื่อการรักษา

ผู้ป่วยโรคตาแดงได้รับยาหยอดตาเพื่อการรักษา ร้อยละ 100

100.00 100.00
3 ผู้ป่วยโรคติดต่อในชุมชนลดลงจากปีที่ผ่านมา

ผู้ป่วยโรคติดต่อในชุมชนลดลงจากปีที่ผ่านมา อย่างน้อยร้อยละ10

100.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,464.00 3 30,464.00
1 ม.ค. 66 - 31 มี.ค. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แกนนำครอบครัว 0 22,000.00 22,000.00
1 ม.ค. 66 - 31 มี.ค. 66 กิจกรรมประชาสัมพันธ์/รณรงค์โรคตาแดงหรือโรคติดต่อที่เป็นปัญหาในชุมชน 0 4,900.00 4,900.00
1 ม.ค. 66 - 31 มี.ค. 66 กิจกรรมลงพื้นที่แจกจ่ายยาหยอดตาแก่ผู้ป่วยโรคตาแดงในพื้นที่ 0 3,564.00 3,564.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำครอบครัวมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคตาแดงและโรคติดต่อในชุมชน เช่น โรคไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคมือเท้าปาก โรคหัด โรคสุกใส เป็นต้น
  2. ผู้ป่วยโรคตาแดงได้รับยาหยอดตาเพื่อการรักษา
  3. ผู้ป่วยโรคติดต่อในชุมชนลดลงจากปีที่ผ่านมา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2566 00:00 น.