กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับพฤติกรรมเปลี่ยนวิถี สุขภาพดีชีวียั่งยืน
รหัสโครงการ 66-L2501-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะบือซา
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 29 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเลาะ ตะตายะอา
พี่เลี้ยงโครงการ นายซอลาฮุดเด่น หะยีหะมิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.43,101.725place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันคนไทยเจ็บป่วยพิการเเละตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นเเละมีเเนวโน้มทวีมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี สาเหตุจากการมีพฤติกรรมสุขาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองเเละโรคอ้วน เป็นต้น หากไม่มีการดำเนินการที่เหมาะสม โรคเหล่านี้อาจจะมีอัตราการเกิดโรคเเละอัตราการตายเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมากในอนาคต ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด หวานจัด เป็นต้น สำหรับอาหารที่ประชาชนควรบริโภค กลับได้รับความสนใจน้อยลง เช่น ผัก เเละผลไม้ เป็นต้น
  การตรวจสุขาพสม่ำเสมอทุกปี การบริโคอาหารที่ถูกต้อง การออกกำลังกายให้เหมาะสมตามเพศ ตามวัย เเละการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขาพให้ถูกต้อง นับว่าเป็นกลวิธีที่สำคัญอย่างยิ่งในการเฝ้าระวังสุขาพของตนเองไม่ให้เกิดโรคเเละลดโอกาสการเกิดภาวะเเทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งยังเป็นการลดาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว โรงพยาบาล เเละประเทศชาติ ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมการพัฒนาพฤติกรรมสุขาพตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงต่อโรคได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขาพ (ร้อยละ60) 2.เพื่อสร้างความตระหนักในการดูเเลสุขาพกลุ่มเป้าหมายความเสี่ยงต่อโรค (ร้อยละ 60)

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ
1.ประชุมชี้เเจงรายละเอียดโครงการแก่ อสม.เเละเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ผ่านเครือข่ายชุมชน 3.จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้         >>>ดำเนินการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรังเเละาวะเเทรกซ้อน กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม         >>>ดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ. 2ส. (อาหาร,อารมณ์,ออกกำลังกาย,บุหรี่/สุรา) ขั้นประเมินผล
  1.จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม   2.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขาพที่ถูกต้อง 2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในการดูเเลสุขาพตนเองอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2566 11:39 น.