กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันเเละควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 66-L2501-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะบือซา
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 29 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนาอีมะห์ ลอฮะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายซอลาฮุดเด่น หะยีหะมิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.43,101.725place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดอกเป็นโรคติดต่อที่มีปัจจัยองจ์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันคบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือบุคคลต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและสิ่งสำคัญคือสิ่งแวดล้อมต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่องก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน สถานการณืโรคไข้เลือดออกปี 2565 ในเขตตำบลลุโบะบือซา พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 5 คน คิดเป็นอัตราป่วยเท่ากับ 101.60 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 50 ต่อแสนประชากร โดยหมู่บ้านที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือ บ้านกำปงปีแซ 2 คน บ้านกาแร 2 คนและบ้านกำปงปีแซ 1 คน ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยให้เชุมชนมีส่วนร่วมและตระหนักถึงสภาพปัญหาของไข้เลือดออก เกิดความรับผิอดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณืของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครื่อข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมทอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้กับประชาชน ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 2. เพื่อรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลายในชุมชน 3. เพื่อการควบคุมโรคให้ทันเวลายภายหลังการได้รับแจ้ง โดยการกำจัดยุงพาหะนำโรคอย่างมีประสิทธิผล

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ
  2. ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
  3. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในหมู่บ้าน โดยใช้หลักการ 5ป 1 ข
  4. อสม.ติดตามเฝ้าระวังความชุกของลูกน้ำยุงลายทุกเดือน
  5. เจ้าหน้าที่ร่วมกับอสม.ออกดำเนินการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกรณีเกิดโรคไข้เลือดออก
  6. ติดตาม/สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลง
  2. ชุมชนให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. สสามารถควบคุมโรคได้อย่างทันเวลา และสามารถหยุดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2566 11:52 น.