กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 1 ปีครึ่ง - 5 ปี
รหัสโครงการ 61-50114-1-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตไบลโละจูด
วันที่อนุมัติ 16 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจินตนาเลาะนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.831,101.834place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 64 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคคอตีบเป็นโรคติดเชื้อเฉียนพลันที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในอดีต ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มใช้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบในแผนงานสร้างเสิมภูมิกันโรคระดับประเทศ ทำให้อุบัติการณ์ของโรคคอตีบลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่าอุบัติการณ์ของโรคคอตีบจะลดลงอย่างมากเมื่องเทียบเท่าในอดีตแต่ยังคงพบรายงานการระบาดของโรคคอตีบอยู่เสมอ เช่น บริเวณที่ติดกับชายแดนระหว่างประเทศ บริเวณที่มีความยากลำบากในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค รวมถึงในประชากรกลุ่มอายุที่คาดว่าจะไม่ได้รับวัคซีนในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งเหตุการณ์การระบาดเหล่านี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการระบาดขยายวงกว้าง การจัดการเพื่อควบคุมการระบาดให้รวดเร็วที่สุด และเตรียมความพร้อมป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในพื้นที่อื่นจึงมีความจำเป็นอย่างสูงซึ่งโรคคอตีบเป็นโรคที่พบการระบาดเป็นช่วงๆ โดยตั้งแต่ปี ๒๕๒๐ ผู้ป่วยโรคคอตีบมีจำนวนลดลงจาก ๒,๒๙๐ ราย เหลือไม่เกินปีละ๑๐ ราย ในช่วงระหว่างปี ๒๕๔๘-๒๕๕๑ แต่หลังจากปี ๒๕๕๒-๒๕๕๕ จำนวนผู็ป่วยกลับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ๑๒-๗๗ ราย โดยในช่วงที่มีการระบาดในปี ๒๕๕๕ มีผู้ป่วยจำนวน ๖๓ ราย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ให้วัคซีนเพื่อควบคุมการระบาดของโรคคอตีบทั้งในเด็กและผู้ใหญ่เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นผู้ป่วยเริ่มลดลงเหลือ ๒๕๕๖ ส่วนปีนี้ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๗ มีผู้ป่วยจำนวน ๔ ราย เสียชีวิต ๑ ราย ด้วยสถานการณ์ผู้ป่วยคอตีบที่ไม่แน่นอน และยังมีตัวเลขขึ้นลงตลอดซึ่งการระบาดในแต่ละครั้งของโรคคอตีบมักจะพบในเด็กที่ยังไม่ได้วัคซีนหรือยังได้วัคซีนไม่ครบ และในกลุ่มคนที่มีประวัติได้รับวัติได้วัคซีนไม่ครบถ้วนหรือไม่ได้รับวัคซีนกระตุ้นในเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกันที่จะป้องกันโรคได้ โดยเมื่อปลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้เกิดการระบาดของโรคคอตีบ โดยพบมากที่สุดในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือรองลงมาคือทางภาคใต้ ถึงแม้ว่าอัตราเสี่ยงในการเสียชีวิตสูงกว่ากลุ่มอื่น ซึ่งภาคใต้เป็นพื้นที่มีการเคลื่อนย้ายเข้ามาของแรงงานอพยพจากหลายพื้นที่ทั้งแรงงานต่างด้าวและแรงงานจากภูมิอื่นของประเทศ ทำให้กลุ่มเด็กที่ย้ายตามผู้ปกครองจึงไม่ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนตามเกณฑ์หรือมีบางส่วนไม่ได้รับวัคซีนเลย ในเขตของพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโละจูด อำแว้ง จังหวัดนราธิวาส พบว่า ในเขตพื้นที่อำเภอแว้งได้มีเด็กป่วยด้วยโรคไข้สมองอักเสบ ๑ ราย และพื้นที่ใกล้เคียงเช่นอำเภอสุคิริน และอำเภอสุไหงปาดีได้มีเด็กป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคคอตีบ ประกอบกับเป็นพื้นที่ชายแดนที่การเข้า ออกของเด็กต่างถิ่นโอกาสที่จะสัมผัสและระบาดได้สูง และจากการดำเนินงานพบว่าเด็กที่มีอายุ ๑ ปีครึ่ง- ๕ ปีมีอัตราการรับวัคซีนต่ำ ไม่ครุมเป้าหมายเพื่อเป็นเร่งรัดและกระตุ้นให้ผู้ปกครองมีตระหนักเห็นความสำคัญ เพื่อให้เด็กได้รับซีนครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ลดอัตราการป่วยหรือตายจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งกลุ่มเด็กเหล่านี้จะได้โตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางสติปัญญา ร่างกายที่ดีและแข็งแรงมีคุณภาพที่ดีในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองนำบุตรหลานรับวัคซีนครบตามวัย

อัตราการได้รับวัคซีนของเด็กอายุ ๑ ปีครึ่ง-๕ ปี ครอบคุมร้อยละ ๙๐

2 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน องค์กรท้องถิ่นสนับสนุนมีส่วนร่วมการแก้ปัญหาการรับวัคซีนในเด็ก

จำนวนผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการร้อยละ ๙๐

3 เพื่อป้องกันการป่วยและตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ไม่พบเด็กป่วยและตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. เสนอโครงการ เพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ ๒. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามโครงการแก่เจ้าที่หน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ๓. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔. ประชาสัมพันธ์โครงการ ๕. เตรียมความพร้อมด้านสถานที่และอุปกรณ์ ๖. วางแผนปฏิบัติงานในชุมชน ๗. จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเด็กอายุ ๑ ปีครึ่ง- ๕ ปี ๘. ให้บริการฉีดวัคซีน ๙. จัดมอบรางวัลจูงใจแก่เด็กและผู้ปกครอง ๑๐. สรุป ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กที่มีอายุระหว่าง ๑ ปีครึ่ง-๕ ปี ได้รับสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครอบคลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ๒. เด็กไม่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนอันจะส่งผลให้เด็กมีภาวะสุขภาพที่ดี ๓. ผู้ปกครองได้มีการเอาใจใส่ดูแลมีการรับวัคซีนได้ตามวัยที่เหมาะสม เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2560 16:11 น.