กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโภชนาการดี ไม่มีภาวะโลหิตจางในเด็ก 0-5 ปี ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2501-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะบือซา
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 29 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,285.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนาอีมะห์ ลอฮะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายซอลาฮุดเด่น หะยีหะมิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะบือซา อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.43,101.725place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 66 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากภาวะโภชนาการเป็นปัจจัยสำคัญในด้านพัฒนาการเด็กไทยให้เติบโตเต็มศักยภาพ มีสุขภาพดีและเชาว์ปัญญาที่พร้อมจะเรียนรู้เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ จากการทบทวนงานวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยทั่วโลก 200 ล้านคนไม่สามารถพัฒนาสติปัญญาและอารมณ์ได้เต็มศักยภาพด้วยสาเหตุหลักที่ป้องกันได้ 4 ประการ ได้แก่ ภาวะทุพโภชนาการรุนแรงที่ก่อให้เกิดภาวะเตี้ย แคระแกร็น(ส่วนสูงตามอายุต่ำกว่า-3SD) ภาวะขาดธาตุไอโอดีนภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และขาดการเลี้ยงดุกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสม จากการติดตามระยะยาวเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการรุนแรงจนเตี้ยแคระแกร็น(ส่วนสูงตามอายุต่ำกว่่า-3SD)ในช่วง 2 ขวบปีแรกจะมีคะแนนสติปัญญาในวัยเด็กอายุ 8-10 ปี ต่ำกว่าเด็กที่ไม่มีภาวะเตี้ย แคระแกร็นในช่วง 2 ปีแรก 3-10 จุด และเด็กที่มี่ปัญหาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กทารกและปฐมวัย อาจทำให้คะแนนสติปัญญาลดลงได้ 5-10 จุด     ผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กอายุ 6-12 เดือน ของรพ.สต.ลุโบะบือซา พบว่า ในปี 2565 มีเด็กอายุ 6-12 เดือน มารับบริการตรวจคัดกรอง 51 คน คิดเป็น ร้อยละ 91.07(เป้าหมายร้อยละ 70) พบภาวะซีด 13 คน คิดเป็นร้อยละ 25.49 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 20) ซึ่งเป็นปัญหา ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะบือซา จึงได้จัดทำโครงการโภชนาการดี ไม่มีภาวะโลหิตจางในเด็ก 0-5 ปี ประจำปี 2566 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับการแก้ไขและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ เด็กที่มีภาวะโลหิตจางได้รับ การแก้ไขปัญหาและมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น พัฒนาสมรรถนะทางสติปัญญาและประสิทธิภาพของเด็กไทย ตลอดจนสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กได้รับความรู้ในเรื่องของการบริโภคอาหารและสัดส่วนที่เหมาะสมเพียงพอ เอื้อต่อการมีภาวะโภชนาการที่ดี 2.เพื่อให้เด็ก 6-12 เดือน ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง 3. เพื่อให้เด็กอายุ 6-12 เดือนที่มีภาวะโลหิตจางได้รับการรักษาและมีค่า Hct>33% หรือ Hb>11 mg/dl เพิ่มขึ้นจนเป็นปกติ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ 2.ประชุมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เรื่อง อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและอาหารที่มี่ธาตุเหล็กสูง 3.ติดตามเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ(น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์)เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินความก้าวหน้าของภาวะโภชนาการ 4.นัดเด็กอายุ 6-12 เดือน ในพื้นที่มาเจาะเลือดคัดกรองโรคซีด พร้อมทั้งจ่ายยาเสริมธาตุเหล็กให้คำแนะนำในรายที่ซีด 5.สรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ัปกครองหรือผู้ดูแลเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้ในการดูแลสุขภาพเด็ก 2.เด็กอายุ 6-12 เดือน ได้รับการตรวจคัดกรองโลหิตจางและรับยาเสริมธาตุเหล็ก 3.เด็กอายุ 6-12 เดือน ที่มีภาวะโลหิตจางได้รับการรักษาและมีค่า Hct>33% หรือ Hb>11 mg/dl เพิ่มขึ้นจนเป็นปกติ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2566 13:21 น.