กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การป้องกัน ดูแล ฟื้นฟูโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
รหัสโครงการ 61-50114-1-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโละจูด
วันที่อนุมัติ 16 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจินตนาเลาะนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.831,101.834place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อเข่าเสื่อมหรือโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นภาวะที่ข้อเข่าผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานานเกิดการเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อทาให้มีการงอกของกระดูก เวลาเดินจะเจ็บข้อเข่า โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดความทรมานแก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง คุณภาพชีวิตลดลง และทำให้โรคอื่นกำเริบ เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากออกกำลังไม่ได้ โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่า บวม เข่าฝืดยึด มีเสียงดังในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ดังปกติ ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป สาเหตุมีได้หลายประการ เช่น ผลสะสมจากความเสื่อมและการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยหนุ่มสาว การที่มีน้ำหนักตัวมากๆ ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในทุกขณะที่ก้าวเดิน หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน บางรายเคยมีการอักเสบติดเชื้อ หรือเป็นโรคไขข้อ บางชนิด เช่น โรคมูมาตอยด์ เป็นต้น จากสถานการณ์ พบว่าโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคหนึ่งในสิบโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญอันก่อให้เกิดผู้สูงอายุทุพพลภาพในประเทศไทยทำให้ผู็ป่วยต้องมีชีวิตอยู่อย่างไร้สมรรถภาพในการประกอบอาชีพ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีพยาธิสภาพที่กระดูกอ่อนผิวข้ออันก่อให้มีอาการปวดจากผิวข้อข้อชำรุดและการอักเสบ หากเป็นต่อเนื่องทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมรุนแรง ช่องว่างผิวข้อหายไป และกระดูกอ่อนผิวข้อชำรุดไปหมด หรือกระดูกปลายข้อทรุดตัว ทำให้เข่าโก่งมากขึ้นได้ (ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิส์แห่งประเทศไทย :แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคข้อเข่าเสื่อม ๒๕๕๓) ในปัจจุบันพบว่ามีการใช้ยาในการรักษา๓าวะข้อเสื่อมนี้เป็นจำนวนมากรองจากยาปฏิชีวนะ (Antibiotocs) โดยเฉพาะยาแก้อักเสบในกลุ่ม NSAIDs (Non-Steroid Anti-inflammatory Drugs) ซึ่งส่วนมากเป็นการรักษาอาการปวดที่ปลายเหตุเสียมากกว่า และมักจะมีผลเสียในการก่อให้เกิดปัญหาเรื่องแผลในกระเพาะอาหารตามมา อุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมพบประมาณ ๑ ใน ๓ หรือคิดเป็นร้อยละ ๓๔.๕-๔๕.๖ ของประชากรทั้งประเทศ และมีความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยมีงานวิจัยพบว่า ค่าใช็จ่ายต่อคนต่อ ๑ ปี ของคนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม รวมทุกอย่าง เช่น ค่ายา ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหรือค่าเสียเวลาในการดูแลรักษาสุขภาพทางด้านนี้ พบว่ามีค่าใช้จ่าย ประมาณปีละ ๒๐๐,๐๐๐ บาทต่อคนจะเห็นได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สู.มากอาจเป็นเพราะว่าโรคข้อเข่าเสื่อมจะไม่ทำให้คนเป็นเสียชีวิตได้เพียงแต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลงเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ ๖๐ ปี ขึ้นไป (รศ.พญ.วิไล.บทความโรคข้อเข่าเสื่อม http://health.kapqqk.com) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโละจูดจึงจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การป้องกัน ดูแล ฟื้นฟูโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความเป็นมา สาเหตุ และสามารถดูแลตนเองได้ โดยลดการใช้ยาแผนปัจจจุบัน เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลและฟื้นสมรรถภาพอย่างมีรูปแบบ และขั้นตอนที่ถูกวิธี
  1. ผู้ป่วยมีความเข้าใจ และสามารถป้องกัน ดูแล ฟื้นฟูโรคข้อเข่าเสื่อมได้ร้อยละ 70%
0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ดูแล อสม. และแกนนำในชุมชนเข้าใจการเกิดโรค การป้องกัน ดูแล และฟื้นฟูโรคข้อเข่าเสื่อม
  1. ผู้ดูแล อสม. และแกนนำในชุมชนสามารถความรู้ที่ได้ไปใช้ในชุมชนได้ ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมลดลง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 61 - 9 พ.ค. 62 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม วิธีการป้องกัน ดูแลและฟื้นฟู 50 9,000.00 -
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 สอนนวดฟื้นฟูสภาพด้วยวิธีการราชสำนัก การประคบสมุนไพร และการพอกยาสมุนไพร 50 8,500.00 -
10 ก.ย. 61 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม 50 9,000.00 9,000.00
10 ก.ย. 61 สอนการนวด 0 8,500.00 8,500.00
รวม 150 35,000.00 2 17,500.00

๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ ๒. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และติดต่อวิทยากร ๓. จัดอบรมให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพผู้ป่วยแก่ญาติ อสม.แกนนำในชุมชน สอนการนวดฟื้นฟูสภาพด้วยวิธีราชสำนัก การออกกำลังกาย การประคบสมุนไพรและการพอกยาสมุนไพร ๔. ติดตามประเมินผลการดูแลของญาติผู้ป่วยโดยการอบยาสมุนไพร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะแทรกซ้อนและการดูแลตนเอง
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความสามารถในการป้องกันอาการปวดข้อเข่าและปวดเมื่อยจากการทำงาน 3.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม เกิดความตระหนักด้านคุณค่าและนำความรู้ด้านการสร้างเสริมสุชภาพประสานการมีส่วนร่วมของชุมชน และองค์กรท้องถิ่น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2560 09:56 น.