กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดเค็ม ลดโซเดียม เจ็ดวันความดันฯลด ตำบลปูยุด
รหัสโครงการ 66-L3017-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 3 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 30 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กรกฎาคม 2566
งบประมาณ 42,425.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮานาน มะยีแต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุยด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวายเรื้อรัง หัวใจล้มเหลวและสมองเสื่อม นอกจากนี้ ระดับความดันโลหิตที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก เลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke) หลอดเลือดหัวใจตีบตันเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันหรือหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด โรคความดันโลหิตสูงจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วย จากข้อมูลการสำรวจพบว่าความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 21.4 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 24.7 ในปี 2557 พฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่สนับสนุนให้ความดันโลหิตเพิ่ม สูงขึ้น คือ การกินเค็ม (เกลือ/โซเดียม) ซึ่งพบว่า คนไทยบริโภคเกลือเฉลี่ย 10.8 กรัมต่อวัน (โซเดียม 5,000 มิลลิกรัม) ซึ่งสูงกว่าความต้องการที่ร่างกายควรได้รับถึง 1 เท่า คือ ควรบริโภคเกลือไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน (โซเดียม 2,400 มิลลิกรัม) การศึกษาในพื้นที่อำเภอบางพลีสมุทรปราการโดยภาควิชาอายุรศาสตร์ร่วมกับภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชนคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีพบว่าการให้ความรู้อย่างเข้มข้นโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ร่วมกับการซักถามการบริโภคอาหารย้อนหลังและแนะนำการลดบริโภคอาหารเค็ม (โซเดียม) อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงนั้น ส่งผลให้ความดันโลหิตตัวบนลดลงได้ 10 มิลลิเมตรปรอท และตัวล่างลดลงถึง 5 มิลลิเมตรปรอท ปัจจุบันในตำบลปูยุด พบผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง 3 ปีย้อนหลังดังนี้ ปี 2563,2564,2565 พบผู้ป่วย 504 คน ,519 คน,516 คน ตามลำดับ มีกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง 3 ปี ย้อนหลัง ดังนี้134 คน,235คน,143คน มีอัตราป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น จากปัญหาดังกล่าว รพ.สต.ปูยุด จึงจัดทำโครงการโครงการลดเค็ม ลดโซเดียม เจ็ดวันความดันฯลด เพื่อสนับสนุนการปรับพฤติกรรมการกิน โดยคาดหวังว่าจะช่วยลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูง และช่วยลดค่าความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงสูง จนควบคุมความดันโลหิตได้หรือเป็นปกติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสูงมีความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้

 

2 2. เพื่อลดการเกิดอัตราป่วยรายใหม่ในกลุ่มเสี่ยงสูง

 

3 3. เพื่อควบคุมความดันโลหิตในกลุ่มกลุ่มเสี่ยงสูง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงสูงที่สามารถลดความดันโลหิตให้อยู่ในกลุ่มปกติได้ ร้อยละ 30
  2. กลุ่มเสี่ยงสูงมีความพึงพอใจร้อยละ 80
  3. กลุ่มเสี่ยงสูงมีค่าเฉลี่ยของความดันฯลดลงหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโซเดียม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2566 12:53 น.