กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดขยะ ลดโรคด้วยการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการ หมู่ 4 ตำบลเทพา
รหัสโครงการ 66-L8287-2-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ธนาคารขยะ หมู่ที่ 4 ต.เทพา
วันที่อนุมัติ 10 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 16,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกษมา เจะสนิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ม.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 1,000.00
2 1 มี.ค. 2566 31 มี.ค. 2566 13,500.00
3 2 ม.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 2,100.00
รวมงบประมาณ 16,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญประการหนึ่งของประเทศไทย คือ การจัดการขยะ ซึ่งแต่เดิมจะเกิดขึ้นเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ แต่ปัญหานี้ได้ขยายวงกว้างมากขึ้นในทุกเขตเมือง โดยแปรตามกับความเจริญและการขยายขนาดของเมือง ซึ่งสภาพเศรษฐกิจยิ่งดีมากขึ้นเท่าไรปัญหาขยะก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ในหลายประเทศจึงได้หันมาใช้วิธีนำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิล (Recycle) ซึ่งได้ผลดี ฉะนั้นแนวทางใหม่ในการจัดการขยะโดยการ รีไซเคิลน่าจะมีประสิทธิภาพดีสำหรับประเทศไทย ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นการเสริมสร้างแนวคิดวิสัยทัศน์ และกระบวนการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่บุคลากรขององค์กรการเพิ่มขีดความสามารถที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่ นอกจากนี้กองขยะยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์นำโรคสารพัดชนิด เช่น ยุง แมลงวัน หนู และแมงสาบ โดยเฉพาะยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก และยังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มเกิดการระบาดมากขึ้น การจัดการขยะอย่างเป็นระบบและถูกวิธีเป็นหนึ่งในการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้
โครงการนี้เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการขยะในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน ชุมชน และภาคีเครือข่าย แบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของประชาชนในทุกภาคส่วน และทุกครัวเรือน โดยการจัดกิจกรรมเชิงรุกตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ปลูกจิตสำนึก การรณรงค์ การฝึกอบรมให้ความรู้ และการคัดแยกขยะในชุมชนและครัวเรือน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนได้มีรายได้เสริมจากขยะที่ได้จากชุนชมและครัวเรือน บางส่วนนำกลับไปใช้ทางการเกษตรเป็นการคืนความสมดุลให้กับธรรมชาติ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขและคณะกรรมการธนาคารขยะ หมู่ 4 บ้านท่าดี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการ “โครงการลดขยะ ลดโรคด้วยการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการ หมู่ 4 ตำบลเทพา” ขึ้นเพื่อลดอัตราการเกิดขยะ อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกทั้งในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการจัดการขยะมูลฝอย

 

80.00
2 เพื่อให้ประชาชนจัดการขยะอินทรีย์อย่างถูกต้อง

 

80.00
3 เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน

 

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมรณรงค์การจัดการสิ่งแวดล้อม(2 ม.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 0.00                  
2 กิจกรรมติดตามการบริหารจัดการโครงการธนาคารขยะของหมู่บ้าน(2 ม.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 0.00                  
3 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูเรื่องการคัดแยกขยะและการจัดการขยะ(1 มี.ค. 2566-31 มี.ค. 2566) 0.00                  
รวม 0.00
1 กิจกรรมรณรงค์การจัดการสิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมติดตามการบริหารจัดการโครงการธนาคารขยะของหมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
3 กิจกรรมอบรมฟื้นฟูเรื่องการคัดแยกขยะและการจัดการขยะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้และตระหนัก มีจิตสำนึก ให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ตลอดจนปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่ให้เอื้อต่อการเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  2. ขยะมูลฝอยและถุงพลาสติกในชุมชนมีปริมาณลดลง ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาดน่าอยู่
  3. เพื่อให้ธนาคารขยะในชุมชนที่มีอยู่เดิม ได้ดำเนินการการจัดการขยะที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน

4 ชุมชนมีระบบการบริหารและจัดการขยะในชุมชนที่มีมาตรฐาน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2566 14:33 น.