กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ รู้สู้โรค คนสูงวัยสุขภาพดีบ้านพรุหมาก-เกาะครก
รหัสโครงการ 66-L8287-3-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ 3 บ้านพรุหมาก-เกาะครก
วันที่อนุมัติ 10 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 15,825.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ 3 บ้านพรุหมาก-เกาะครก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.82,100.94place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 11,600.00
2 1 ก.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 1,225.00
3 1 ม.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 3,000.00
รวมงบประมาณ 15,825.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และอีก 9 ปีข้างหน้า ในปี 2574 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่า 28% ของประชากรทั้งประเทศ จากสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้มีผู้สูงอายุ “กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง” ประมาณ 3% หรือ 4 แสนคน จากผู้สูงอายุที่มีอยู่ประมาณ 13 ล้าน โจทย์ใหญ่คือจะทำอย่างไรให้ประเทศไทยเตรียมพร้อมรับมือวางโครงสร้างกับสังคมผู้อายุระยะยาวซึ่งการขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุพบความหลากหลายในชีวิตประจำวัน ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบคือ รายได้ไม่เพียงพอ ไม่มีหลักประกันสุขภาพ สภาพแวดล้อมในบ้านและสังคมไม่เอื้อต่อการใช้ชีวิต ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากพื้นฐานชีวิต เช่น ได้รับการศึกษาที่ไม่สูง ไม่รู้วิธีการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการต่างๆ นโยบายไม่ตอบโจทย์ต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน และในอีก 20 ปีข้างหน้าพบผู้สูงอายุมีแนวโน้มครองโสด ไม่มีครอบครัว ไม่มีลูก หรือมีลูกน้อยลง การจัดทำนโยบายดูแลคุณภาพชีวิตให้ครอบคลุมทุกกลุ่มจึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะในอนาคตจะมีผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบางทางเศรษฐกิจและสุขภาพ 7 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุที่ผู้พิการ-ทุพพลภาพ ,ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม,ผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง-ไร้บ้าน,ผู้สูงอายุยากจน,ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสถานะบุคคล,ผู้สูงอายุที่ย้ายถิ่นกลับบ้าน,ผู้สูงอายุที่มีความหลากหลายทางเพศ
  กลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุในระดับหมู่บ้านหรือชุมชนถือเป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุเนื่องจากมีความใกล้ชิด เข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ รวมถึงสามารถเข้าถึงและพัฒนาผู้สูงอายุในชุมชนได้ดีที่สุด
  ชมรมผู้สูงอายุพรุหมาก-เกาะครก ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุ เข้าใจสภาพปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุกๆด้าน ดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุ การต่อยอดพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ ไปสู่เป้าหมาย ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าและมีส่วนร่วมนำกิจกรรมต่างๆในชุมชนเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการดำเนินงานกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ

การเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุในชมรมสัดส่วนร้อยละ ๘๐

80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้

มีการดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 6 ครั้ง

80.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ร้อยละ 100 ของสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพพึงประสงค์ปีละ 1 ครั้ง

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าและมีส่วนร่วมนำกิจกรรมต่างๆในชุมชนเกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนในการดำเนินงานกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ
  2. ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้
  3. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกคน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2566 17:10 น.