กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและอบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รหัสโครงการ 61-50114-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนูโร๊ะ
วันที่อนุมัติ 16 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนุชนาถสะมะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.831,101.834place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 31 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาไข้เลือดออกที่เป็นปัญหาเรื้อรังในชุมชน ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งดด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และด้านสังคมที่เกิดจากการขาดความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมไข้เลือดออกจากภาคสังคมอื่น และชีวะนิสัยของยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคของโรคไข้เลือดออก รวมถึงปัจจัยแวดล้อมต่างๆที่ก่อให้เกิดการระบาดของโรค โดยพบว่ายุงลายมีการวางไข่และขยายพันธ์ได้ตลอดทั้งปีซึ่งยุงลายตัวเมียผสมพันธ์เพียงครั้งเดียว สามารถวางไข่ได้ครั้งละมากๆตลอดชีวิตและเชื้อโรคไข้เลือดออกสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธ์จากแม่ยุงลายสู่ไข่และลูกยุงลายได้ รวมถึงการติดต่อจากคนสู่คนโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค หากไม่มีการควบคุมป้องกันโรคที่ดีก็จะทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นและจะแพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียนชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การ จัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกัน ตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด ดังนั้น รพ.สต.บ้านนูโร๊ะ ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและรณรงค์ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก รพ.สต.บ้านนูโร๊ะ ประจำปีงบประมาณ 2561 เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและซักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชนตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 สร้างความร่วมมือในชุมชนและภาคีเครืิอข่ายในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชุมชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมป้องกันไข้เลือดออก

1.00
2 เพื่อป้องกันอัตราการป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกขอประชากรในชุมชน

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,150.00 0 0.00
17 ต.ค. 60 - 17 ก.ย. 61 รณรงค์พ่นหมอกควัน 0 22,150.00 -

๑. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ๑.๑ กิจกรรมย่อย ๒. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในเรื่องโรคไข้เลือดออก ๒.๑ กิจกรรมย่อม รณรงค์พ่นหมอกควัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก 3.ปรชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2560 10:22 น.