กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มประชากรหลัก อบต.โละจูด ปี ๒๕๖๑
รหัสโครงการ 61-50114-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลแว้ง
วันที่อนุมัติ 16 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 49,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.831,101.834place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การติดเชื้อเอชไอวีของประเทศไทย ในกลุ่มประชากรหลัก ได้แก่ ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย สาวประเภทสอง พนักงานบริการ พนักงานขายบริการหญิง และผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีด ร้อยละ 90 ของการติดเชื้อ เอชไอวีรายใหม่เป็นการรับและถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีผ่านการใช้เข็มและอุปกรณ์ฉีดยาหรือสารเสพติดร่วมกัน โครงการนี้จัดขึ้นตามกรอบแผนปฏิบัติการเร่งรัดการยุติปัญหาเอดส์ ประเทศไทย พ.ศ.2558-2562 ซึ่งนอกเหนือจากการส่งเสริมการป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์และจากการฉีดยาหรือสารเสพติด เป็นการใช้ประโยชน์ของการรักษาเพื่อการป้องกัน(Treatment as Prevention)โดยส่งเสริมการตรวจเอชไอวีในกลุ่มประชากรหลักเพื่อให้รู้สถานการณ์ติดเชื้อเอชไอวี แต่เนิ่นๆเริ่มให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี ทันที โดยไม่ต้องรอให้ระดับภูมิต้านทาน (CD4) ต่ำลงและดูแลให้กินยาต่อเนื่อง การให้ความรู้ในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติด โดยกลวิธี Harm Reduction เพื่อป้องกันถ่ายทอดเชื้อเอชไอวี กรอบการให้บริการ ประกอบด้วย การเข้าถึงการป้องกัน-การเข้าสู่บริการ-การตรวจเอชไอวี-การรักษา-การคงอยู่ในระบบ (Reach-Recruit-Test-Retain:RRTTR)ที่เชื่อมต่อกัน โดยเป็นการทำงานร่วมกันของงานป้องกันและการรักษาแต่ด้วยทัศนะเชิงลบของสังคมและผู้เกี่ยวข้องในเรื่องเอดส์ และต่อกลุ่มประชากรหลัก จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานควบคู่กันไป จากข้อมูลการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ในพื้นที่ตำบลโละจูด ปี2558-2560 พบว่า ผู้ติดเชื้อรายใหม่เข้าถึงการรับบริการ จำนวน 23,20,3 ราย ตามลำดับ และร้อยละ 70 มาจากการใช้สารเสพติดชนิดฉีด และติดต่อทางคู่ที่อยู่อาศัยด้วยกัน การเข้าถึงการรับบริการยาต้านไวรัสเอชไอวีในกลุ่มใช้สารเสพติดชนิดฉีด ตำบลโละจูด จำนวน 155คน พบว่า ติดเชื้อเอชไอวี จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.67 และมีเชื้อไวรัสตับอักเสบร่วม คิดเป็นร้อยละ 3.22 (35 ราย)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็็นการป้องกัน การแพร่เชื้อเอชไอวีรายใหม่

อัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ในพื้นที่ลดลงร้อยละ 80

1.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและป้องกันตนเองไม่ให้มีความเสี่ยงในการตดเชื้อเอชไอวี

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลตนเองและสามารถป้องกันตนเองไม่ให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีได้ ร้อยละ 80

1.00
3 เพื่อพัฒนาระบบการเข้าถึงการบริการภาครัฐ

1.ประชาชนมีความเข้าถึงการรับบริการยาต้าน เมทธาโดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
2. อัตราการดื้อยาต้านไวรัสลดลง ร้อยละ 20

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 49,200.00 4 33,700.00
กิจกรรมเวทีประชาชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้/การคืนข้อมูล แก่ชุมชน 0 8,000.00 5,000.00
จัดกิจกรรมรณรงค์ การยุติปัญาหาโรคเอดส์ 0 10,000.00 5,000.00
กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มเสี่ยง 0 12,600.00 12,600.00
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรคเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มประชากรหลัก 0 11,100.00 11,100.00
กิจกรรมประชุมกลุ่มเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การส่งเสริมการดูแลตนเอง การมารับยาตามนัดและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจัดระบบการติดตาม เยี่ยมบ้านโดยเครือข่าย/กลุ่มจิตอาสาจัดระบบกระตุ้นให้ผู้ที่มีผลเลือด พร้อมคู่อย่างน้อยทุก 6 เดือน 0 7,500.00 -

การจัดทำแผนที่ชุมชนและศึกษาเครือข่ายทางสังคมของกลุ่มประชากรหลัก ๒. การให้บริการเชิงรุกเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มประชากรหลัก (Reach) ๓. การเข้าสู่ระบบบริการ โดยส่งต่อ (Reach) โดยส่งต่อจากผู้ให้บริการเชิงรุก ๔. การให้บริการตรวจคัดกรองเอชไอวีแบบเคลื่อนที่ (Test) ให้จัดหน่วยบริการตรวจเอชไอวีในชุมชนซึ่งอาจจัดกิจกรรมรณรงค์ร่วมด้วย ๕. การส่งต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี
๖. การดูแลให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และกลุ่มประชากรเป้าหมายคงอยู่ในระบบการรักษาและป้องกัน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เครือข่ายการป้องกัน ดูแลสุขภาพร่วมกันระหว่าง อบต.โละจูดและโรงพยาบาล และชุมชนในพื้นที่ เพื่อทำให้เข้าถึงกลุ่มประชากรหลักได้ครอบคลุมมากขึ้น เข้าสู่ระบบบริการคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตรวจเอชไอวี การรักษาด้วยเมทาโดนในผู้ใช้สารเสพติด มากขึ้นตรวจพบ ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีและรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวีทันที่มากขึ้น ส่งผลให้ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2560 10:38 น.