กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขยะอินทรีย์
รหัสโครงการ 66-L1490-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 13 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มกราคม 2566 - 30 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 16 มิถุนายน 2566
งบประมาณ 211,632.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ พ.จ.อ.ไชยา สุทธิโภชน์ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ พ.จ.อ.ไชยา สุทธิโภชน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกหล่อ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.524,99.615place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 ม.ค. 2566 30 ส.ค. 2566 211,632.00
รวมงบประมาณ 211,632.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 600 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

คนละ 0.8 กิโลกรัมต่อวัน ครัวเรือนละ 3 คน

2.40
2 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

คิดจาก 2618 ครัวเรือน ดำเนินการแล้ว 10 ตรัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 0.38

0.38
3 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ
50.00
4 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

กลุ่มหมู่ 11 กลุ่ม รร.บ้านทุ่งหวัง กลุ่มพี่จิตรา

3.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล       ปัญหาขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาสำคัญซึ่งนับวันมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อันเป็นสืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทั้งประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับความเจริญเติบโตของเมืองตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน จากสถานการณ์ของขยะมูลฝอยทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน การทำลายทัศนียภาพ ความสวยงามของบ้านเมือง อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน ฯลฯ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนสุขภาพของคนในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยดังกล่าวรวมถึงมีการกำหนดรูปแบบหรือวิธีการจัดการไว้แล้ว แต่ยังคงไม่เพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองต่อปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้นและยังคงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อาทิ เช่น ปัญหาขยะตกค้าง ก่อให้เกิดความสกปรกในพื้นที่ ปัญหาด้านกระบวนการกำจัดขยะหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ หรือสร้างมูลค้าหรือสร้างรายได้ ซึ่งจะเป็นผลให้สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นได้       จังหวัดตรัง ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ.2565 ภายใต้ แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2565-2570) โดยดำเนินการตั้งแต่จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้านและชุมชน โดยใช้หลักการ 3 ช. : ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทาง เพื่อลดปริมาณขยะและส่งส่งการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพและขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้าน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้าน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล โดยขึ้นทะเบียนของโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ระดับครัวเรือน โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดแยกขยะเปียกหรือขยะที่มาจากเศษอาหารออกจากถังขยะทั่วไป เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการลดปริมาณและคัดแยกขยะเปียกของครัวเรือนในระดับท้องถิ่นและเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ “ขยะเปียกลดโลกร้อน” กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลโคกหล่อ จึงได้ทำโครงการอบรมให้ความรู้การจัดทำ ถังขยะเปียกในครัวเรือน ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดต่อวัน ลดลงครึ่งหนึ่งของแต่ละครัวเรือน

2.40 1.20
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ ทุกครัวเรือนมีการจัดการขยะอินทรีย์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

0.38 100.00
3 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ ทุกครัวเรือน

50.00 100.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน ทุกหมู่บ้านมีกลุ่มในการจัดการขยะอินทรีย์

3.00 12.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66
1 อบรมให้ความรู้(24 ม.ค. 2566-24 ก.พ. 2566) 109,200.00          
2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์(24 ม.ค. 2566-24 ก.พ. 2566) 12,432.00          
3 จัดทำและสาธิตการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน(24 ม.ค. 2566-24 ก.พ. 2566) 90,000.00          
รวม 211,632.00
1 อบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 600 109,200.00 1 109,200.00
24 ม.ค. 66 - 24 ก.พ. 66 กิจกรรมอบรม บรรยายให้ความรู้ อบรม บรรยายให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่อง วิธีการ คัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน แก่ ประชาชน ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายในการจัดทำถัง ขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก 600 109,200.00 109,200.00
2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 600 12,432.00 1 12,432.00
16 ม.ค. 66 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่อง วิธีการคัดแยกขยะอินทรีย์ห รือขยะเปียกใน ครัวเรือน แก่ประชาชน ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายใน การจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก ผ่านบอร์ด ประชาสัมพันธ์หมู่บ้าน และเสียงตามสายหมู่บ้าน 600 12,432.00 12,432.00
3 จัดทำและสาธิตการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 600 90,000.00 1 90,000.00
24 ม.ค. 66 - 24 ก.พ. 66 จัดทำถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียก 600 90,000.00 90,000.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้การจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน ประจำปีงบประมาณ 2566 เพื่อเสนอขอพิจารณาอนุมัติจากผู้บริหารท้องถิ่น 2. เสนอของบประมาณสนับสนุนในการจัดทำโครงการฯ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลโคกหล่อ 3. ประชุมหารือผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการจัดถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน     4. อบรม บรรยายให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่อง วิธีการคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน แก่ประชาชน       ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายในการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก     5. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่อง วิธีการคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน แก่     ประชาชน ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายในการจัดท าถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก ผ่านบอร์ดประชาสัมพันธ์หมู่บ้าน
    และเสียงตามสายหมู่บ้าน     6. เตรียมความพร้อมให้โรงเรียนในพื้นที่ตำบลโคกหล่อและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลโคกหล่อเป็น       แหล่งเรียนรู้ “การจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน” ได้     7. ประสานสถานประกอบการในตำบลให้ดำเนินการจัดการขยะอินทรีย์ตามแนวทางที่เทศบาลตำบลโคกหล่อกำหนด         ดเนินการจัดท าถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียกของกลุ่มเป้าหมายครบทุกหลังคาเรือน       8. ดำเนินการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือถังขยะเปียกของกลุ่มเป้าหมายครบทุกหลังคาเรือน       9. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของโครงการและรายงานสรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้บริหารท้องถิ่น และกองทุนหลักประกันเทศบาลตำบลโคกหล่อ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ       2. กลุ่มแกนนำชุมชน อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล) ผู้นำท้องที่ ประชาชน มีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะครัวเรือนตั้งแต่ต้นต้นทาง       3. เป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ “ขยะเปียกลดโลกร้อน” และการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในพื้นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น       4. ครัวเรือนและชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ       5. ลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน ชุมชน ที่ก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2566 08:16 น.