โครงการร่วมใจห่างไกลโรคไข้เลือดออกชุมชนบ้านปลักธง
ชื่อโครงการ | โครงการร่วมใจห่างไกลโรคไข้เลือดออกชุมชนบ้านปลักธง |
รหัสโครงการ | 66-L7257-2-35 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านปลักธง |
วันที่อนุมัติ | 23 กุมภาพันธ์ 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2566 - 15 กันยายน 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2566 |
งบประมาณ | 41,260.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางขวัญใจ สุขสวัสดิ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 เม.ย. 2566 | 30 ก.ย. 2566 | 41,260.00 | |||
2 | 0.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 41,260.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก | 0.00 | ||
2 | ร้อยละของอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน | 0.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ
จากข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ มีแนวโน้มสูงขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาไปที่การกำจัดยุงตัวเต็มวัย การพ่นหมอกควัน เป็นต้น โดยไม่ได้กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และไข่ลูกน้ำยุงลาย จึงทำให้มียุงรุ่นใหม่เกิดได้ตลอดช่วงเวลา จึงไม่สามารถขจัดโรคไข้เลือดออกให้หมดไปจากชุมชนได้
ในการนี้ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านปลักธง จึงได้จัดทำโครงการร่วมใจ ห่างไกลโรคไข้เลือดออก ชุมชนบ้านปลักธง ขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นการกระตุ้น ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ลดอัตราการป่วยและลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ด้วยตนเอง โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหนะนำโรค ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละของประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น |
0.00 | 50.00 |
2 | เพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน และป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก ร้อยละของอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง |
0.00 | 70.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 41,260.00 | 0 | 0.00 | 41,260.00 | |
??/??/???? | กิจกรรมประชุมคณะทำงานอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านปลักธง | 0 | 225.00 | - | - | ||
??/??/???? | กิจกรรมจัดทำตุ๊กตาไล่ยุง | 0 | 21,660.00 | - | - | ||
??/??/???? | กิจกรรมเดินรณรงค์ให้ความรู้โรคไข้เลือดออกและกำจัดลูกน้ำยุงลาย | 0 | 3,300.00 | - | - | ||
??/??/???? | กิจกรรมสำรวจลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในครัวเรือน | 0 | 14,850.00 | - | - | ||
??/??/???? | กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ | 0 | 1,225.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 41,260.00 | 0 | 0.00 | 41,260.00 |
- จำนวนผู้ป่วยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 50
- ดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลง และลดอัตราป่วยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
- มีครัวเรือนต้นแบบในการใช้เป็นตัวอย่างแก่บ้านข้างเคียงได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2566 10:52 น.