กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการความรู้ในการดูแลสุขภาวะที่ดีของทารกแรกเกิด
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 มกราคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,010.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววฤณดา นนท์ธีระบวร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.804place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทารกที่อยู่ในช่วงแรกเกิด – 1 เดือนแรก เป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและสมองอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากทารกยังเป็นกลุ่มที่ขาดความสามารถในการช่วยเหลือดูแลตนเอง จึงต้องอาศัยการดูแลจากครอบครัวเป็นหลัก ดังนั้นการที่จะดูแลสุขภาวะที่ดีให้กับทารกได้นั้น ต้องมีการสร้างปัญญาหรือความรู้ความเข้าใจให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องในการดูแลทารก ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยระบุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่เน้นให้ทารกมีพัฒนาการที่สมวัย ทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญา แต่การที่ทารกจะมีพัฒนาการที่สมวัยได้นั้น ต้องอาศัยการเลี้ยงดูจากครอบครัวเป็นสำคัญ โดยครอบครัวจะต้องให้การตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่จำเป็น มีความรู้และมีทักษะต่างๆในการเลี้ยงดูทารกได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งบทบาทหลักในการให้ความรู้ในการฝึกทักษะต่างให้กับมารดา/บิดา/ผู้ดูแลทารก ส่วนใหญ่มักจะเป็นบทบาทหลักของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่อาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการของชุมชน ดังนั้น บุคลากรที่มีบทบาทสำคัญและมีความใกล้ชิดกับประชาชนในชุมชนมากที่สุด คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลทารกแรกเกิด โดยเกิดจากประชาชน (อสม.) ในพื้นที่เป็นผู้ดูแล ส่งผลทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมความรู้และพัฒนาศักยภาพของ อสม.ด้านการดูแลสุขภาวะที่ดีของทารกแรกเกิดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

๑. อสม.ร้อยละ ๑๐๐ มีความรู้ สามารถดูแลสุขภาวะที่ดีของทารกแรกเกิด สามารถประเมินอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นของทารกได้

2 เพื่อส่งเสริมให้ อสม. สามารถประเมินและส่งเสริมพัฒนาการของทารกตามวัยได้

อสม.ร้อยละ ๑๐๐ สามารถประเมินและส่งเสริมพัฒนาการของทารกตามวัยได้

3 เพื่อส่งเสริมและรณรงค์ให้ทารกแรกเกิด – ๖ เดือน กินนมแม่ อย่างเดียว

ร้อยละ ๕๐ ของทารกแรกเกิด – ๖ เดือน กินนมแม่อย่างเดียว

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาวะที่ดีของทารกแรกเกิด

๒. ทารกแรกเกิดมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ ๘๐

๓. อัตราของทารกแรกเกิด – ๖ เดือน กินนมแม่อย่างเดียวผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด (ร้อยละ ๕๐)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2566 15:23 น.