กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 มกราคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววฤณดา นนท์ธีระบวร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.33,101.804place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 15–19 ปี เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals, MDGs) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) กำหนดให้การลดอัตราคลอดในวัยรุ่นอายุ 10-14 ปี และอายุ 15-19 ปี เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดในการบรรลุเป้าหมายที่ 3 ว่าด้วยการสร้างหลักประกันให้คนมีมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวันที่นานาชาติต้องบรรลุให้ได้ภายในปี พ.ศ.2573 สำหรับประเทศไทย กรมอนามัย พบว่า ในปี 2562 สถิติการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อายุ 15-19 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยวันละ 169 คน โดยมีวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 15 ปี คลอดบุตรเฉลี่ยวันละ 6 คน ทั้งนี้ในปี 2562 พบว่า จำนวนหญิงคลอดอายุต่ำกว่า 20 ปี มีอยู่ 63,831 ราย โดยแยกหญิงคลอดอายุระหว่าง 15-19 ปี มีจำนวน 61,651 ราย หญิงคลอดอายุต่ำกว่า 15 ปี มีจำนวน 2,180 ราย และยังพบว่าหญิงตั้งครรภ์ซ้ำและคลอดอายุต่ำกว่า 20 ปี มีถึง 5,222 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.2

จากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า วัยรุ่นอายุ 15-19 ปีที่มีบุตรเป็นการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ก่อให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพจากการตั้งครรภ์ไม่พร้อม เช่น การเสียชีวิตของมารดา เด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีความเสี่ยงต่อการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต นอกจากนี้ ยังทำให้เสียโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งรายได้ในอนาคต การขาดความพร้อมในการเลี้ยงดูบุตร ส่งผลให้เด็กจำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้ง หรือเติบโตมาอย่างไม่มีคุณภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปอ ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออัตราการตั้งครรภ์ของครรภ์ตั้งครรภ์รายใหม่ อายุ 15 - 19 ปี

อัตราการตั้งครรภ์หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ อายุ 15 – 19 ปี น้อยกว่า50 ต่อประชากรหญิงอายุ 15 - 19 ปีหนึ่งพันคน

2 เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น อายุ 15 - 19 ปี และลดอัตราการคลอดบุตรในมารดาที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี

อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น อายุ 15 - 19 ปี และลดอัตราการคลอดบุตรในมารดาที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี น้อยกว่าร้อยละ 10

3 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 - 14 ปี

อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10 – 14 ปี เท่ากับ 0

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. วัยรุ่นมีความรู้ด้านเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิต สามารถงดเว้นมีเพศสัมพันธ์ ป้องกันการตั้งครรภ์ และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ รวมถึงการได้รับการดูแล ช่วยเหลือ และคุ้มครองอย่างเป็นระบบเมื่อประสบปัญหา

  2. ไม่เกิดอัตราการคลอดมีชีพในหญิงมีอายุ 10 - 14 ปี

  3. อัตราการตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ อายุ 15 – 19 ปีลดลง

  4. อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำในวัยรุ่น อายุ 15 – 19 ปี และอัตราการคลอดบุตรในมารดาที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2566 15:57 น.