กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
รหัสโครงการ 66-L3019-5-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนิซูรี นาโด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.685,101.214place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 29,150.00
รวมงบประมาณ 29,150.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (29,150.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (70,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่มียุงลาย (ยุงลายบ้าน ยุงลายสวน) เป็นพาหะนำโรค มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล เชื้อโรค พาหะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ในอดีตที่ผ่านมามักมีการระบาดในฤดูฝนเพราะมีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายมาก แต่ปัจจุบันโรคได้มีการแพร่ระบาดได้ตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจจะพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนซึ่งยุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าวไม่ให้เอื้อต่อก่ีเกิดโรค คือบุคคลต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือจำนวนน้อย พาหะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อมต้องถูกสุขลักษณะ จากข้อมูลของระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขขณะนี้มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นมาและในปี พ.ศ. 2566 ข้อมูล ณ วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2566 มีรายงานผู้ป่วยสะสม 27,377 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 41.37 ต่อแสนประชากร โดยคาดว่าโรคไข้เลือดออดจะระบาดรุนแรงในปีนี้ สำหรับในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 พบผู้ป่วยสะสม 4,057 ราย เสียชีวิต 6 ราย ในภาพเขตสุขภาพที่ 12 จังหวัดมีอัตราป่วยสูงสุด คือ จังหวัดสงขลา (116.46 ต่อแสนประชากร) นราธิวาส (78.81 ต่อแสนประชากร) และจังหวัดปัตตานีมีอัตราป่วยอยู่อันดับที่ 5 (70.21 ต่อแสนประชากร) ปัจจุบันตำบลป่าไร่ พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมในปี พ.ศ. 2566 จำนวน 3 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2566) ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคุมป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออก หากขาดการดำเนินการควบคุมป้องกันอย่างต่อเนื่องก็อาจมีแนวโน้มที่จะพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรายใหม่เพิ่มมากขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบลป่าไร่ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการตำบลป่าไร่ห่างไกลไข้เลือดออก (ภายใต้โครงการกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่) ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อเป็นการควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลป่าไร่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเป็นการควบคุม ป้องกัน การเกิดโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลป่าไร่ 2. เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลป่าไร่ 3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตำบลป่าไร่มีสุขภาพที่ดีห่างไกลโรคไข้เลือดออก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 70,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 โครงการกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ (ไข้เลือดออก) ประจำปีงบประมาณ 2566 0 70,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลป่าไร่ลดลง
  2. ไม่มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลป่าไร่
  3. ประชาชนตำบลป่าไร่มีสุขภาพที่ดีห่างไกลโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2566 12:00 น.