กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการขยะชุมชนโดยการคัดแยกที่ต้นทาง
รหัสโครงการ 66-L5205-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 34,032.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบำรุง พรหมเจริญ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.924,100.591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 420 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ
930.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรังที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงเนื่องจากมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น การบริโภคในครัวเรือนมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณขยะจากครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะเห็นได้จากข้อมูลขยะมูลฝอยภายในตำบล มีอัตราเพิ่มขึ้นซึ่งขยะเหล่านั้น มีทั้งขยะที่ย่อยสลายได้ง่ายและขยะที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก และขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซึ่งขยะเหล่านี้ก่อให้เกิดมลภาวะ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค ตลอดจนเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชน ส่วนขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกบางส่วนมีการจัดการที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และนอกจากนี้ขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก เกิดการเน่าเสียได้ง่ายทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นปัญหาของภาวะโลกร้อน ซึ่งในปัจจุบันทางกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินนโยบายเพื่อเป็นการขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะ โดยการจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือน เพื่อเป็นการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นนั้นมักจะเกิดจากแหล่งที่พักอาศัย สถานประกอบการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โรงเรียน วัด และอื่น ๆ อีกมาก ซึ่งปัญหาดังกล่าวองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรังได้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และได้พยายามหาวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การกำจัดขยะไม่ให้มี คงกำจัดไม่ได้ เพราะในชีวิตประจำวันเราต้องใช้สิ่งของที่เป็นเครื่องอุปโภค บริโภค จึงจำเป็นต้องมีของเหลือทิ้ง วิธีที่จะทำให้ขยะไม่เป็นปัญหากับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ก็คือการลดปริมาณขยะการทำให้ปริมาณขยะที่จะทิ้งลดลง อาจโดยการนำสิ่งที่เป็นขยะนั้นกลับมาใช้ประโยชน์อีกหรือการลดปริมาณการใช้และให้เหลือสิ่งที่จะทิ้งเป็นขยะจริงเพียงเท่าที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์อื่นใดได้อีก ในการนี้ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหรัง จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการขยะชุมชนโดยการคัดแยกที่ต้นทาง เพื่อส่งเสริมให้ราษฎรภายในหมู่บ้าน หรือชุมชนของตนเองได้มีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะเปียกออกจากขยะทั่วไป เพื่อเป็นการลดการสะสมเชื้อโรค และส่งเสริมการจัดการขยะภายในครัวเรือนและคัดแยกอย่างถูกวิธี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะทั้ง 4 ประเภทอย่างถูกต้อง

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการขยะทั้ง 4 ประเภท ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนคัดแยกขยะเปียกออกจากขยะทั่วไป

ประชาชนมีการคัดแยกขยะเปียกออกจากขยะทั่วไป ร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรคที่มากับขยะมูลฝอย

ประชาชนมีจัดการแหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรคที่มากับขยะมูลฝอย

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 โครงการบริหารจัดการขยะชุมชนโดยการคัดแยกที่ต้นทาง(1 ก.พ. 2566-31 ส.ค. 2566) 34,032.00              
รวม 34,032.00
1 โครงการบริหารจัดการขยะชุมชนโดยการคัดแยกที่ต้นทาง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 420 34,032.00 0 0.00
1 - 28 ก.พ. 66 กิจกรรมการคัดแยกขยะทั้ง 4 ประเภท และประโยชน์จากการคัดแยกขยะเปียก 420 432.00 -
1 - 28 ก.พ. 66 กิจกรรมสอนการจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือน 0 33,600.00 -
1 ก.พ. 66 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรมลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการจัดการขยะเปียก ทุก 3 เดือน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการขยะเปียก
  2. ประชาชนมีการคัดแยกขยะเปียกออกขยะทั่วไป
  3. แหล่งเพาะพันธุ์ของพาหะนำโรคที่มากับขยะมูลฝอยลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2566 20:51 น.