กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยและการบริโภคผักเพื่อสุขภาพ
รหัสโครงการ 66-L5205-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลคลองหรัง
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 34,432.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประพันธ์ แซ่เตี้ยว
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวดวงดาว อุปสิทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.924,100.591place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพมีสาเหตุสำคัญมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีสารเคมี/สารพิษปลอมปน เนื่องจากผู้ผลิตมีการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้องในแปลงปลูก ทำให้สารเคมีตกค้างอยู่ในผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลต่อผู้บริโภคทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งผู้ผลิตเองด้วย และการซื้อผักจากท้องตลาดซึ่งมีราคาค่อนข้างแพงและอาจมีสารเคมีตกค้าง ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโภชนาการด้านสุขภาพ การดูแลรักษาเมื่อเกิดการเจ็บป่วยนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อรับประทานเองจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการบริโภคอาหารปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการได้รับสารเคมี นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต รวมทั้งเป็นการสร้างคลังอาหารของครัวเรือนและชุมชน ส่งเสริมให้เป็น “คลอง หรังคลังอาหาร” ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลคลองหรังเล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของประชาชน ลดเสี่ยง ลดโรค จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยและการบริโภคผักเพื่อสุขภาพ โดยการส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัวสำหรับบริโภคในครัวเรือน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี มีการใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถทำได้เองในครัวเรือน และการบริโภคผักเพื่อสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักและใส่ใจในสุขภาพ ผลิตและบริโภคอาหารปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดี ห่างไกลโรค ลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และยังสามารถสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนได้อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีการบริโภคผักเพื่อสุขภาพ

เข้าร่วมโครงการมีการบริโภคผักเพื่อสุขภาพ ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีพืชผักปลอดภัยสำหรับบริโภค สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

ผู้เข้าร่วมโครงการมีพืชผักปลอดภัยสำหรับบริโภค สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรค ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

60.00
3 เพื่อให้มีคลังอาหารในชุมชน สร้างเป็น “คลองหรังคลังอาหาร”

ชุมชนมีแหล่งอาหารปลอดภัย และมีครัวเรือนต้นแบบในการปลูกพืชผักปลอดภัย ร้อยละ 60

60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 โครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยและการบริโภคผักเพื่อสุขภาพ(1 มี.ค. 2566-31 ส.ค. 2566) 34,432.00            
รวม 34,432.00
1 โครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยและการบริโภคผักเพื่อสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 34,432.00 0 0.00
1 มี.ค. 66 - 30 เม.ย. 66 กิจกรรมการอบรมให้ความรู้การผลิตพืชผักปลอดภัย 30 24,832.00 -
1 มี.ค. 66 - 26 พ.ค. 66 กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน 30 0.00 -
1 พ.ค. 66 - 30 มิ.ย. 66 กิจกรรมส่งเสริมการบริโภคผักเพื่อสุขภาพ 30 9,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนหันมาปลูกพืชผักสวนครัว บริโภคผักปลอดภัย และอาหารเพื่อสุขภาพ ส่งผลทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค และมีรายได้เสริมจากการปลูกผัก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2566 11:24 น.