กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในหญิงหม้ายและเด็กกำพร้า ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L8422-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 61,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกัลยา อีซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 8 ปีที่ผ่านมา สร้างความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนการสูญเสีย เจ้าหน้าที่รัฐ เป็นจำนวนไม่น้อย ในขณะเดียวกันทางภาครัฐ ได้ทุ่มเทงบประมาณ เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้น รวมแล้ว ไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาท แต่สถานการณ์ยังเกิดขึ้นนับวันจะทวีความรุนแรงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ปัจจัยเหล่านี้ล้วนได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แสดงถึงการขาดความมั่นคงทางครอบครัว คือครอบครัวไม่สมบูรณ์แบบหรือครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว หมายถึงครอบครัวซึ่งอาจมีเพียงพ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำหน้าที่เลี้ยงดูลูกเป็นหลัก เช่น มารดาเลี้ยงดูบุตรตามลำพังครอบครัวแตกแยก สิ่งที่แสดงให้เห็นความไม่สมบูรณ์แบบของครอบครัว คือ การหย่าร้าง แตกแยกครอบครัวที่ไม่มีพ่อ หรือไม่มีแม่ หรือมีแต่แม่คนเดียว เนื่องจากอัตราการหย่าร้างที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากการเสียชีวิตของคู่สมรส โดยเฉพาะครอบครัวที่มีแม่เป็นหัวหน้าครอบครัวและเลี้ยงดูลูกตามลำพัง นอกจากนี้ตำบลจวบ เป็นตำบลที่หลายครอบครัว ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้ได้รับความเดือดร้อน บางครอบครัวขาดพ่อ บางครอบครัวขาดแม่ และบางครอบครัวขาดทั้งพ่อและแม่ ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า เกิดความเครียด ด้วยสภาพปัญหาและความจำเป็นดังกล่าว การให้ความช่วยเหลือหญิงหม้ายและเด็กกำพร้าที่ประสบปัญหาเหล่านี้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องเร่งรีบดำเนินการเพื่อส่งเสริมสุขภาขจิตของหญิงหม้ายและเด็กกำพร้าในพื้นที่ตำบลจวบ มีความรู้และทัศนคติที่ดีมองโลกในแง่บวก และมีสุขภาพจิตที่ดี ดังนั้นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีแก่หญิงหม้ายและเด็กกำพร้า กลุ่มหญิงหม้ายและเด็กกำพร้าจึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตในหญิงหม้ายและเด็กกำพร้า ประจำปีงบประมาณ 2566 นี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อการส่งเสริมเยียวยาสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาภาวะซึมเศร้าและความเครียด ข้อที่ 2. เพื่อให้หญิงหม้ายและเด็กกำพร้ามีสุขภาพจิตดี ข้อที่ 3. เพื่อเสริมสร้างกลไกและเครือข่ายช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวเด็กกำพร้า

ข้อที่ 1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมหญิงหม้ายและเด็กกำพร้ามีความรู้และทัศนคติที่ดีมองโลกในแง่บวก
ข้อที่ 2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีคะแนนประเมินภาวะเครียดในระดับปกติ
ข้อที่ 3. เกิดกลไกและเครือข่ายครอบครัวในชุมชนในการร่วมกันป้องกันปัญหาด้านสุขภาพจิตดับปกติ

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 61,320.00 1 61,320.00
1 ก.พ. 66 - 29 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้แก่หญิงหม้าย และเด็กกำพร้า 0 61,320.00 61,320.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงหม้ายและเด็กกำพร้ามีความรู้และทัศนคติที่ดีมองโลกในแง่บวก
  2. หญิงหม้ายและเด็กกำพร้ามีสุขภาพจิตดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2566 14:53 น.