กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดีด้วยสมุนไพรไทยห่างไกลโควิด
รหัสโครงการ 66-L7251-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลระโนด
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวระพีพร ทองพันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง พบว่าในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมกว่า ๔,๔๖๓,๕๕๗ ราย (ข้อมูล ณ วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๔) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้สูงอายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป ผู้มีโรคเรื้อรัง ๗ กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์์ตั้งแต่ ๑๒ สัปดาห์ขึ้นไป เมื่อได้รับเชื้อก็จะมีโอกาสป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ และหลังหายจากการติดเชื้อโควิด-๑๙ มีโอกาสได้รับผลกระทบกับอาการ Long COVID (ลองโควิด) ที่ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงเท่าเดิม โดยเฉพาะความผิดปกติของปอด และหัวใจ ที่ทำงานได้ไม่ดีเหมือนก่อน จากผลการศึกษาความชุกของภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-๑๙ ในผู้ป่วยที่มีประวัติ ติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จากการติดตามที่ระยะ ๓ เดือนหลังการติดเชื้อ พบว่าผู้ป่วยจำนวน ๒๐๒ คน มีความชุกภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-๑๙ ถึง ร้อยล่่่่ะ ๖๔.๘๗ อาการที่บ่อย คือ ผมร่วง ร้อยละ ๓๒.๕๓ ภาวะการขาดโปรตีนและพลังงาน (Protein energymalnutrition: PEM) ร้อยละ ๓๒.๐๒ อาการหายใจลำบาก ร้อยละ ๒๑.๕๙ อาการเหนื่อยล้า ร้อยละ ๑๖.๔๖ และอาการนอนไม่หลับ ร้อยละ ๑๓.๗๗ (เมธาวี หวังชาลาบวร และคณะ., ๒๕๖๕) ในพื้นที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ที่พบว่าการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) อย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล ป้องกันสุขภาพที่สอดคล้องกับสถานการณ์โรคระบาด โดยใช้ศาสตร์การแพทย์แผนไทย เช่นการใช้ยาสมุนไพร การสุมยาสมุนไพรด้วยตนเองมาใช้ในการดูแลสุขภาพ ควบคู่กับการให้ความรู้การใช้ยาสมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร กระชายขาว ขิง เป็นต้น ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลรักษาสุขภาพ คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลระโนด มีแนวทางการป้องกันและดูแลสุขภาพโดยการใช้สมุนไพร ที่มีส่วนช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันและมีส่วนช่วยลดภาวะหลังติดเชื้อโควิด โดยจัดทำ "การสุมยาสมุนไพร" ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการหวัด คัดจมูกน้ำมูกไหล หายใจไม่สะดวก ลดอาการไอจาม ลดอาการหอบหืด อีกทั้งยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดอาการมึนศีรษะได้ และการใช้ยาสมุนไพรที่มีส่วนช่วยในการเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ บรรเทาอาการของโรคในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ลดโอกาสที่โรคจะพัฒนารุนแรง ลดระยะการเจ็บป่วยให้สั้นลง ลดโอกาสเกิดผลกระทบต่อสุขภาพภายหลังจากการติดเชื้อ รวมทั้งกระตุ้นการดูแลตนเองด้วยสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสุขภาพกายและใจที่ดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชน ได้รับความรู้ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

2 ๒. เพื่อให้ประชาชน ได้รับความรู้ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองสำหรับอาการหลังโควิด (COVID-๑๙)ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

3 ๓. เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจ และสามารถสุมยาสมุนไพรได้ด้วยตนเอง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,000.00 0 0.00
3 เม.ย. 66 - 29 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันดูแลสุขภาพ 0 25,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้การใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองในช่วงสถานณ์การโรคระบาดโควิด-๑๙ ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ๒. ประชาชน ได้รับความรู้ความเข้าใจในการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองสำหรับอาการหลังโควิด (Long COVID) ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ๓. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลสุขภาพตนเองด้วยการสุมยาสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2566 00:00 น.