กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ประจำปี พ.ศ. 2566 ”
ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา



หัวหน้าโครงการ
นางสาวขนิษฐา แพมิ่




ชื่อโครงการ โครงการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ประจำปี พ.ศ. 2566

ที่อยู่ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 66-L4141-01-01 เลขที่ข้อตกลง 003/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 24 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ประจำปี พ.ศ. 2566 จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ประจำปี พ.ศ. 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ประจำปี พ.ศ. 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 66-L4141-01-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 24 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 57,900.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาจากขยะมูลฝอยเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เนื่องจากขยะมูลฝอยส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นได้ชัด เพื่อลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและขยะตกค้างจึงต้องมีการคัดแยกขยะ ให้ถูกประเภทเพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น ขยะย่อยสลายได้ก็นาไปทำปุ๋ยหมัก ขยะอันตรายก็นำเข้าสู่ระบบ การทำลายที่ปลอดภัย ส่วนขยะที่รีไซเคิลได้ก็นำรวบรวมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนามาใช้ประโยชน์ใหม่ ส่วนขยะทั่วไปก็นำไปทิ้งหรือนาไปกำจัดอย่างถูกวิธีและตามหลักสุขาภิบาลต่อไป เมื่อเราทราบว่าขยะรีไซเคิล มีชนิดใดบ้าง ก็สามารถแยกชนิดได้อย่างละเอียดตั้งแต่ในครัวเรือน เมื่อนำไปขายก็จะเพิ่มมูลค่าของขยะรีไซเคิลให้มากขึ้นและง่ายต่อการนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลประเภทนั้น ๆ ขยะมูลฝอยในครัวเรือนโดยทั่วไปสามารถแยกออกเป็นวัสดุรีไซเคิลได้เป็น 4 ประเภท คือ แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ ซึ่งเมื่อแยกออกเป็นประเภทต่าง ๆ แล้วมักจะเรียกว่าวัสดุรีไซเคิล

ขยะนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญที่ทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา นับวันประชากรตำบลม่วงเตี้ยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่ตามมา ก็คือปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรเช่นกัน แต่การบริหารจัดการขยะยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรเนื่องจากไม่มีจัดเก็บขยะในชุมชนให้ชุมชนจัดการขยะเองจากต้นทาง แต่ประชาชนยังขาดความรู้ในการจัดการขยะอย่างถูกต้อง ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมา ดังนั้นการรณรงค์ให้ความรู้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปในชุมชนเกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ถูกต้องเหมาะสม เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญที่ทำให้เกิดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมจนสามารถแก้ไขปัญหาขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2552 องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา 67 ข้อ 2 รักษาความสะอาดถนน ทางน้ำ ทางเดิน และที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล ข้อ 7 คุ้มครองดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการขยะและการคัดแยกขยะก่อนทิ้งในครัวเรือน จะช่วยลดปริมาณขยะในครัวเรือนและลดปัญหาขยะที่ตกค้างตามชุมชนทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการ ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนจะร่วมมือกันลดและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทและนำวัสดุที่สามารถนากลับมาใช้ใหม่ได้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป ประกอบกับจังหวัดยะลา ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “ยะลาสะอาด” ประจำปี พ.ศ 2565 ภายใต้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2565 – 2570) โดยดำเนินการตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้านและชุมชน โดยใช้หลักการ 3 ช. : ใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทาง เพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพและขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนในการจัดการขยะ สร้างจิตสำนึกในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในตำบล จึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะประจำปี พ.ศ.2566 โดยมุ่งเน้นการอบรมให้ความรู้ และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาบริหารจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนเพื่อดำเนินการตามนโยบายจังหวัดสะอาด และแนวทางการขับเคลื่อนจังหวัดยะลา “ยะลาสะอาด”ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่จึงขอรับเงินสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลลำใหม่ ต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้
  2. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  3. เพื่อให้ประชาชนลดการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
  4. เพื่อให้ประชาชนนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการบริหารจัดการขยะในชุมชนได้อย่างถูกต้อง
  5. เพื่อให้ประชาชนนำขยะรีไซเคิลมาใช้ประโยชน์ และมีรายได้เสริมจากการคัดแยกขยะ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ
  2. รณรงค์การคัดแยกขยะ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้

2.ประชาชนได้มีความตระหนักถึงปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

3.ประชาชนลดการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการคัดแยกขยะ

4.ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการบริหารจัดการขยะในชุมชนได้อย่างถูกต้อง

5.ประชาชนนำขยะรีไซเคิลมาใช้ประโยชน์ และมีรายได้เสริมจากการคัดแยกขยะ


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ

วันที่ 3 มีนาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ดำเนินกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3 Rs ขยะอินทรีย์ และขยะรีไซเคิลต่อยอดนวัตกรรม สร้างรายได้ให้ชุมชน ให้กับเด็กนักเรียนโรงเรียนวารสารศาสตร์ จำนวน 120 คน โดยมี นางสาวอามีนะห์  สือแปง ตำแหน่งแพทย์แผนไทย สังกัดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลลำใหม่ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทางขยะอินทรีย์ การจัดการขยะแบบ 3 Rs

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลจากการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะให้กับนักเรียนสามารถส่งผลในเชิงบวกหลายประการ ได้แก่:

1.การเพิ่มความตระหนักรู้ นักเรียนจะมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากขยะที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม

2.พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป นักเรียนจะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นในการแยกขยะตามประเภท เช่น แยกขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ และขยะอันตราย ซึ่งจะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด

3.การเป็นแบบอย่างในชุมชน นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับครอบครัวและชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการคัดแยกขยะในระดับชุมชนอย่างเป็นระบบมากขึ้น

4.การลดปริมาณขยะ เมื่อมีการแยกขยะอย่างถูกต้อง จะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด ทำให้ลดภาระของสถานที่กำจัดขยะและลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตสินค้าจากวัตถุดิบใหม่

5.การสนับสนุนการรีไซเคิล การแยกขยะอย่างถูกวิธีช่วยส่งเสริมการรีไซเคิล ทำให้วัตถุดิบสามารถถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งช่วยลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

6.การส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การอบรมช่วยให้นักเรียนมีความสนใจและติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและการลดปริมาณขยะ ซึ่งอาจนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวข้องในอนาคต

การอบรมลักษณะนี้จึงไม่เพียงแต่เป็นการสร้างความรู้พื้นฐาน แต่ยังเป็นการสร้างทัศนคติและพฤติกรรมเชิงบวกที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

 

120 0

2. รณรงค์การคัดแยกขยะ

วันที่ 15 มิถุนายน 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ดำเนินกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การจัดการขยะชุมชน ประจำปี พ.ศ.2566 จำนวน 40 คน โดยมี อสม. เด็กนักเรียน โฆษกชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผรส. อถล. และเจ้าหน้าที่ อบต.ลำใหม่ เข้าร่วมกิจกรรม และดำเนินกิจกรรมวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ณ พื้นที่หมู่ที่ 1  ชุมชนวัดลำใหม่ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา โดยการร่วมกันเดินรงค์ประชาสัมพันธ์การจัดการขยะชุมชน การแจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะ ขยะย่อยสลายได้ ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป ขยะอันตราย และประโยชน์ของขยะอินทรีย์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลจากการเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะสามารถส่งผลในหลายด้านที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ได้แก่:

1.การเดินรณรงค์เป็นการสร้างความสนใจและให้ข้อมูลโดยตรงกับประชาชนในพื้นที่ ทำให้คนในชุมชนเข้าใจวิธีการคัดแยกขยะอย่างถูกต้องและตระหนักถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะ

2.การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชุมชน เมื่อคนในชุมชนได้รับข้อมูลและตระหนักถึงผลกระทบของการไม่คัดแยกขยะ พวกเขามีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น

3.การลดปริมาณขยะในพื้นที่ เมื่อมีการคัดแยกขยะอย่างเหมาะสม ขยะที่สามารถรีไซเคิลได้จะถูกนำไปใช้ใหม่ ขยะอินทรีย์จะถูกแยกไปทำปุ๋ย และขยะอันตรายจะถูกจัดการอย่างปลอดภัย ทำให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดลดลง

4.การสร้างความร่วมมือในชุมชน การรณรงค์สามารถเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมตัวหรือความร่วมมือในชุมชนในการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ โดยชุมชนอาจพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมต่อเนื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมร่วมกัน

5.การลดปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม เมื่อการคัดแยกขยะเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในชุมชน จะช่วยลดมลพิษจากการกำจัดขยะโดยวิธีที่ไม่เหมาะสม เช่น การเผาขยะ การทิ้งขยะลงแหล่งน้ำ และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

6.สร้างทัศนคติที่ดีต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม การรณรงค์ช่วยเสริมสร้างทัศนคติที่ดีให้กับประชาชน โดยทำให้เห็นว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม ผ่านการคัดแยกขยะอย่างง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน

7.การได้รับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ เมื่อการรณรงค์ได้รับความสนใจและผลลัพธ์ที่ชัดเจน อาจได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐหรือองค์กรเอกชน เพื่อขยายผลการดำเนินงานในระยะยาว

การเดินรณรงค์จึงเป็นกลยุทธ์ที่มีพลังในการสื่อสารโดยตรงกับประชาชน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้

 

40 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้
ตัวชี้วัด : ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้

 

2 เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด : ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

3 เพื่อให้ประชาชนลดการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
ตัวชี้วัด : ประชาชนลดการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง

 

4 เพื่อให้ประชาชนนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการบริหารจัดการขยะในชุมชนได้อย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : ประชาชนนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการบริหารจัดการขยะในชุมชนได้อย่างถูกต้อง

 

5 เพื่อให้ประชาชนนำขยะรีไซเคิลมาใช้ประโยชน์ และมีรายได้เสริมจากการคัดแยกขยะ
ตัวชี้วัด : ประชาชนมีการนำขยะรีไซเคิลมาใช้ประโยชน์ และมีรายได้เสริมจากการคัดแยกขยะ

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 160 160
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 40
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 120
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้ (2) เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้ตระหนักถึงปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (3) เพื่อให้ประชาชนลดการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง (4) เพื่อให้ประชาชนนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการบริหารจัดการขยะในชุมชนได้อย่างถูกต้อง (5) เพื่อให้ประชาชนนำขยะรีไซเคิลมาใช้ประโยชน์ และมีรายได้เสริมจากการคัดแยกขยะ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ (2) รณรงค์การคัดแยกขยะ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ประจำปี พ.ศ. 2566 จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 66-L4141-01-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวขนิษฐา แพมิ่ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด