กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ "ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ส่งต่อเร็วไว คลอดในสถานบริการ"
รหัสโครงการ 66-L2995-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางมะรวด
วันที่อนุมัติ 3 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 2 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 18,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอารยา มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การป่วยและตายของมารดาและเด็ก ได้ถูกกำหนดให้เป็นเครื่องบ่งชี้สภาวะสุขภาพของประชากรและการพัฒนาประเทศที่สำคัญ รวมถึงการตายของมารดาเป็นตัวบ่งบอกความเป็นอยู่ของผู้หญิง การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ตลอดจนความเพียงพอของสถานบริการด้านสุขภาพ ข้อมูลอัตราส่วนการตายมารดาและแนวโน้มไม่เพียงแต่จะบอกถึงปัจจัยเสี่ยงของการตั้งครรภ์และการคลอด แต่ยังชี้ให้เห็นถึงสุขภาพ โดยรวมของผู้หญิงโดยตรงและสภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยอ้อม สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กในเขตพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีความน่าเป็นห่วง เหตุเพราะอัตราส่วนการตายของมารดายังเป็นปัญหาสาธารณสุขในระดับพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง โดยพบสูงสุดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปีงบประมาณ 2563 ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส คิดเป็นร้อยละ 71.43, 68.42 และ 62.37 ต่อแสนคนในการเกิดมีชีวิต ตามลำดับ (เกณฑ์มาตรฐาน ไม่ควรเกิน ร้อยละ 17 ต่อแสนคนในการเกิดมีชีวิต) การฝากครรภ์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์มาก ในทางสูติศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มาฝากครรภ์ ไม่ได้รับการดูแลขณะตั้งครรภ์จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะมีโอกาสเกิดภาวะเสี่ยงหรือได้รับอันตรายจากการตั้งครรภ์และการคลอดมากกว่า และรุนแรงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจครรภ์และดูแลครรภ์อย่างถูกต้อง ทันเวลา และต่อเนื่องสม่ำเสมอ ภาวะเสี่ยงต่างๆอาจมีระดับของอันตรายถึงชีวิตของมารดาหรือทารกได้ และสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ในบริบทของสูติศาสตร์สมัยใหม่ มีเพียงน้อยรายที่น่าจะเป็นเหตุสุดวิสัย เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์มุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงฝากครรภ์กับผดุงครรภ์โบราณเพราะวิถีชีวิต ความเชื่อ ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดบรรทัดฐานปฏิบัติตนของหญิงตั้งครรภ์ (ศรีวิภา เลี้ยงพันธุ์สกุล และคณะ, 2558) อีกทั้งยังคงมีการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณหรือโต๊ะบีแด มากกว่าหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่อื่น ๆ (สุดารัตน์ ธีระวร, 2547)       โต๊ะบีแดถือเป็นบุคคลที่ประชาชนมุสลิมวางใจและเชื่อถือ ดังนั้นมารดาและทารกมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตในระหว่างตั้งครรภ์และการคลอด (กระทรวงสาธารณสุข, 2551) และจากสภาพปัญหาและสถานการณ์สภาวะสุขภาพของแม่และเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางมะรวด ในปีงบประมาณ 2564 พบว่า มีมารดาคลอดที่โรงพยาบาล ร้อยละ 75.40 ตามลำดับ และคลอดกับผดบ.ร้อยละ24.59    ตามลำดับปีงบประมาณ 2565 พบว่า มีมารดาคลอดที่โรงพยาบาล ร้อยละ 71.16 ตามลำดับ และคลอดกับผดบ.ร้อยละ 30.23 และจากข้อมูลการคลอดกับ ผดบ..ในพื้นที่พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากการคลอดกับผดบ.จำนวน 6ราย ประกอบกับหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังไม่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ดี รวมถึงความสามารถในการเข้าใจ ประเมิน และประยุกต์ข้อมูลข่าวสารทางสุขภาพ เพื่อพิจารณาและตัดสินใจในการดูแลสุขภาพของตนเองตลอดการตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอดได้
      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางมะรวดได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวประกอบกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่สนับสนุนให้หญิงตั้งครรภ์คลอดที่โรงพยาบาล โดยเปลี่ยนบทบาทของโต๊ะบีแดเป็นผู้นำส่งหญิงตั้งครรภ์คลอดที่โรงพยาบาล จึงได้จัดทำโครงการ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ส่งต่อเร็วไว คลอดในสถานบริการ ซึ่งเป็นโครงการที่สอดคล้องกับปัญหาตามบริบทของพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนตามยุทธศาสตร์การให้บริการด้านสุขภาพ อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืนของโครงการต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีการรับรู้สุขภาพ และสามารถจัดการสุขภาพได้ 2. เพื่อให้เครือข่ายชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ 3. เพื่อลดการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด

1.อัตราส่วนการตายของมารดาไม่เกิน 35 ต่อแสนการเกิดมีชีพ 2.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ 3.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 8 ครั้ง ตามเกณฑ์ 4.มารดาคลอดในสถานบริการ

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
30 ส.ค. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ โดยทีม อสม.นักสร้างสุขภาพระดับตำบล 60 18,700.00 18,700.00
รวม 60 18,700.00 1 18,700.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หญิงตั้งครรภ์ ในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลตนเองได้ในขณะตั้งครรภ์ และได้รับการดูแล ติดตาม ส่งต่อไปยังสถานบริการโดยเครือข่ายในชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รวมถึงการปรับเปลี่ยนบทบาทของโต๊ะบีแดในการนำส่งหญิงคลอดในสถานบริการ จนเกิดภาวะสุขภาพที่ดีทั้งในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด สู่เป้าหมายลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2566 14:26 น.