กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการหมู่บ้านต้นแบบทอนคลอง สะอาด น่าอยู่ ปลอดขยะ ปลอดโรค (กิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดการขยะมูลฝอยและจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อนในครัวเรือน)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านต้นแบบทอนคลอง สะอาด น่าอยู่ ปลอดขยะ ปลอดโรค (กิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดการขยะมูลฝอยและจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อนในครัวเรือน)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 11,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอรุณ บุญรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 ม.ค. 2566 26 ม.ค. 2566 11,000.00
รวมงบประมาณ 11,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาสำคัญซึ่งนับวันมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อันเป็นสืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากร ทั้งประชากรในพื้นที่และประชากรแฝงที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับความเจริญเติบโตของเมืองตลอดจนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชนจากสถานการณ์ของขยะมูลฝอยทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน การทำลายทัศนียภาพ ความสวยงามของบ้านเมือง อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น หนู ยุง แมลงวัน ฯลฯ ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนสุขภาพของคน ในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าจะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการปัญหาขยะมูลฝอยดังกล่าวรวมถึงมีการกำหนดรูปแบบหรือวิธีการจัดการไว้แล้วแล้ว แต่ยังคงไม่เพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองต่อปริมาณขยะมูลฝอยทีเพิ่มมากขึ้นและยังคงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อาทิ เช่น ปัญหาขยะตกค้าง ก่อให้เกิดความสกปรกในพื้นที่ ปัญหาด้านกระบวนการกำจัดขยะหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือสร้างมูลค่าหรือสร้างรายได้ ซึ่งจะเป็นผลให้สามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นได้ จังหวัดสงขลา ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “สงขลาสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2566 ภายใต้ แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2565 – 2570) โดยดำเนินการตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้านและชุมชน โดยใช้หลักการ 3 ช. : ใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ระยะ ตั้งแต่ ต้นทาง กลางทางและปลายทาง เพื่อลดปริมาณขยะและส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพและขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาลที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ว่า “ประเทศไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่ทุกวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก”กระทรวงมหาดไทยโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ดำเนิน โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 โดยให้จังหวัดส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการจัดทำถังขยะเปียกให้ครบทุกครัวเรือน รวมถึงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมการคัดแยกขยะครัวเรือนลดการปนเปื้อนขยะเปียกกับของเหลือใช้อื่นๆ สร้างรายได้เพิ่มจากการคัดแยกขยะ ลดภาระค่าใช้จ่ายโดยการใช้ปุ๋ยหมักที่เกิดจากถังขยะเปียก เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ตลอดจนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจในประเทศไทย หรือ Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการและกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน ได้พิจารณาเห็นชอบการขึ้นทะเบียนโครงการฯ โดยมีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นผู้พัฒนาหรือเจ้าของโครงการ ประกอบด้วยครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 36,644,309 ครัวเรือน โรงเรียน 1,701 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 18,935 แห่ง โดยมีระยะเวลาคิดเครดิตของโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 – 30 มิถุนายน 2569 หรือระยะเวลา 7 ปี และคาดว่าจะสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ 492,212 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
หมู่ที่ 9 บ้านทอนคลอง ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ซึ่งได้รับการพิจารณาจากอำเภอคลองหอยโข่งและเทศบาลตำบลโคกม่วง ให้รับการขับเคลื่อนโครงการ/กิจกรรมดังกล่าวให้เกิดเป็นหมู่บ้านต้นแบบการจัดการถังขยะเปียกลดโลกร้อน ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการลดปริมาณและคัดแยกขยะเปียกของครัวเรือน จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านต้นแบบทอนคลอง สะอาด น่าอยู่ (กิจกรรมอบรมให้ความรู้การจัดการขยะมูลฝอยและจัดทำถังขยะเปียก ลดโลกร้อนในครัวเรือน) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการลดปริมาณและคัดแยกขยะเปียกของครัวเรือน

ร้อยละ 80 ประชาชนมีความรู้และสนใจเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ

2 เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์และลดปริมาณขยะ อินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

ร้อยละ 20 ของปริมาณขยะเปียกในพื้นที่ลดลง

3 เพื่อส่งเสริมความรู้การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะที่เกิดจากต้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ร้อยละ 80 ประชาชนมีความรู้ในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง

4 เพื่อให้เกิดหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะตั้งแต้ต้นทางและขยายผลสู่หมู่บ้านใกล้เคียง

ร้อยละ 80 ของครัวเรือนที่มีพื้นที่สามารถดำเนินการจัดทำถังขยะเปียกได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน     2. ปริมาณขยะอินทรีย์ที่เข้าสู่แหล่งกำจัดมีปริมาณลดลง     3. ประชาชนมีความรู้และเห็นถึงความสำคัญของการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง     4. เกิดหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะตั้งแต้ต้นทางและขยายผลสู่หมู่บ้านใกล้เคียง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2566 11:47 น.