กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอนามัยโรงเรียนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้นำเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคต่างๆ ที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ (อสม.น้อย) ปีงบประมาณ 2566

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอนามัยโรงเรียนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้นำเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคต่างๆ ที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ (อสม.น้อย) ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดโคกเหรียง
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,352.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิลาวรรณ แก่นจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 ม.ค. 2566 26 ม.ค. 2566 12,352.00
รวมงบประมาณ 12,352.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โครงการอนามัยโรงเรียนเป็นโครงการหลักของทุกโรงเรียน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บริการความรู้ที่ถูกต้องตามหลักการป้องกันการเกิดโรคหรือดูแลรักษาเบื้องต้นกรณีเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย ตลอดจนการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนตามหลักโภชนาการ ส่งเสริมให้นักเรียนและบุคลากรมีสุขภาพดี สมบูรณ์พร้อมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม อันเป็นการพัฒนาคนตามนโยบายของทางราชการ สำหรับระดับโรงเรียนนอกจากการให้บริการให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้โรงเรียนยังส่งเสริมให้นักเรียนมีความเป็นผู้นำ มีจิตอาสา และมีทัศนคติด้านสุขอนามัยที่ถูกต้อง โครงการอนามัยโรงเรียนจึงเป็นโครงการต่อเนื่อง เป็นผลจากสามารถจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้มีประสบการณ์ในการพัฒนาตนเองในทุกด้านตลอดจนสามารถพัฒนาครอบครัว ชุมชน ได้อย่างต่อเนื่อง       ปัจจุบันพบว่า มีโรคติดต่อจำนวนมากเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องมีความรู้ในการดูแลตนเองและครอบครัว การป้องกันภัยจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ จึงเห็นว่าการให้ความรู้กับเยาวชน/นักเรียนในโรงเรียนจะสามารถลดอัตราการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้แกนนำ (อสม.น้อย) มีความรู้และรับผิดชอบในส่วนของ โรงเรียน บ้าน วัด เพื่อสร้างเสริมและป้องกันโรคในพื้นที่ หากกิจกรรมดังกล่าวดำเนินได้เป็นอย่างดีจะพัฒนาไปสู่การส่งเสริมและป้องกันโรคติดต่อ และไม่ติดต่อในอนาคตจึงจัดทำโครงการอนามัยโรงเรียน กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้นำเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ (อสม.น้อย)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีความรู้ความเข้าใจโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ

ร้อยละ 90 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีความรู้ความเข้าใจโรคติดต่อ/ไม่ติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน

2 เพื่อให้ค้นหานักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1-6 มีความรู้ความเข้าใจโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มียุงเป็นพาหะและสามารถเป็นแกนนำ ( อสม.น้อย)ของโรงเรียน

ร้อยละ 100 เจ้าหน้าที่สามารถค้นหานักเรียนเป็นแกนนำ(อสม.น้อย) ของโรงเรียนได้ตามเป้าหมาย (จำนวน36 คน)

3 เพื่อให้โรงเรียนเป็นเขตปลอดยุง

ร้อยละ 100 โรงเรียนเป็นเขตปลอดยุงและได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดยุง ระดับ ดีเยี่ยม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 - 6 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ
  2. กลุ่ม (อสม.น้อย) มีการพัฒนาศักยภาพในการจัดการทางสุขภาพ
    1. กลุ่ม (อสม.น้อย) เกิดการบูรณาการร่วมกันในการทำงานของหน่วยงาน กลุ่มองค์กร มีจิตอาสา  ในการดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว และในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2566 14:09 น.