กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนางานศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลตำบลโคกม่วง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์ฟื้นฟูผู้สูงอายุและคนพิการตำบลโคกม่วง
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 55,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพรสิน อุไรวงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 ม.ค. 2566 26 ม.ค. 2566 55,440.00
รวมงบประมาณ 55,440.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพของประชากรในประเทศไทยเปลี่ยนจากโรคติดต่อเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในสังคมไทย ประกอบกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมักตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง อาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาต ทำให้มีความพิการตามมา การดูแลสุขภาพระยะยาว (Long Term Care) ของตำบลโคกม่วง พบว่า จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง          มีจำนวนเพิ่มขึ้น ยังไม่รวมถึงผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงผู้อื่นในการดูแลสุขภาพ ได้แก่ ผู้มีภาวะพึ่งพิง คนพิการ ผู้ที่มีภาวะทุพพลภาพ อันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งกลุ่มผู้มีภาวะเหล่านี้มีความยากลำบากในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข ขณะเดียวกันก็มีปัญหาในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบบริการ การดูแลสุขภาพต่อเนื่องในระยะยาวโดยเฉพาะการเข้าถึงบริการด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ เนื่องจากมีต้นทุนสูงในการเข้าถึงบริการและความยุ่งยากที่จะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมาโรงพยาบาลบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในเขตชนบทที่ไม่มียานพาหนะของตนเอง หรือแม้แต่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่ก็ยังเข้าถึงบริการได้น้อย ปัญหาสำคัญจากการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงและต่อเนื่องที่บ้านในพื้นที่ตำบลโคกม่วง เกี่ยวเนื่องกับกายอุปกรณ์และเครื่องช่วยความพิการ          มีสาเหตุปัจจัยดังนี้ ๑. ความเจริญทางด้านการแพทย์ทำให้ผู้ป่วยภาวะวิกฤตมีชีวิตรอดเพิ่มขึ้น แต่ก็กลายเป็นผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงมากขึ้นเช่นกัน ๒. โรงพยาบาลเน้นการดูแลผู้ป่วยระยะเฉียบพลัน แต่ยังขาดการดูแลผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันหรือผู้ป่วย Subacute ในชุมชน ๓. ระบบบริการปฐมภูมิมีข้อจำกัดด้านบุคลากรทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพมีปัญหาด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ เมื่อกลับไปดูแลต่อเนื่องที่บ้าน รวมทั้งขาดการเชื่อมโยงข้อมูลในการดูแลต่อเนื่อง ปัจจุบันบริบทของตำบลโคกม่วง ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้สูงอายุ และมีผู้ป่วยหลอดเลือดสมองรายใหม่เพิ่มขึ้น ผู้ป่วยมีอายุที่ลดน้อยลงจำนวนมากขึ้น เช่นกันและอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ แต่เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพงประกอบกับผู้ดูแลต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานที่ถูกต้อง ประกอบกับปัจจุบันมีผู้ป่วยใช้กายอุปกรณ์จากศูนย์ฯจำนวนหลายราย ทำให้อุปกรณ์ในศูนย์ฯไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของผู้ป่วย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนางานศูนย์ฟื้นฟูผู้สูงอายุและคนพิการ เทศบาลตำบลโคกม่วง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนในการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการเพิ่มเติม และให้ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยฯสามารถเข้าถึงบริการ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยฯ มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถแนะนำญาติหรือผู้ดูแลฯได้อย่างถูกต้อง

เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยฯ ความรู้ ความเข้าใจ สามารถแนะนำญาติหรือผู้ดูแลฯได้อย่างถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90.00

2 เพื่อพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพของศูนย์ฟื้นฟูฯให้สามารถจัดบริการให้ครอบคลุมและตอบสนองต่อความจำเป็นของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยฯ ได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม

ศูนย์ฟื้นฟูฯมีการให้บริการสาธิตและยืมอุปกรณ์ฯ มีห้องเก็บรักษาอุปกรณ์ และมีการประชาสัมพันธ์ อย่างทั่วถึง

3 เพื่อให้บริการยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการกับกลุ่มเป้าหมาย ให้สามารถใช้ฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องที่บ้านได้

กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการยืมอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการเพิ่มขึ้น

4 เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวผู้ป่วย

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้บริการศูนย์ฯและยืมอุปกรณ์ฯ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายครอบครัว หรือมีความพึงพอใจในการติดต่อรับบริการยืมอุปกรณ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.00

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพหรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยฯ มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถแนะนำญาติหรือผู้ดูแลฯได้อย่างถูกต้อง
  2. ศูนย์ฟื้นฟูฯได้พัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยมีอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน ลดความแออัดในโรงพยาบาล
  3. กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงบริการยืมกายอุปกรณ์หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับบริการทางการแพทย์ เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องที่บ้าน
  4. ผู้ใช้บริการมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อน สามารถฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ ส่งผลดีต่อสุขภาพหรือการบำบัดรักษา ลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวผู้ป่วย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2566 14:53 น.