กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กดี...ที่โคกม่วง 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 95,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกุลธิดา พิชญ์พนัส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 ม.ค. 2566 26 ม.ค. 2566 95,000.00
รวมงบประมาณ 95,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะมุ่งสู่วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและสามารถเปลี่ยนผ่านประเทศไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ใหม่ของโลกได้” โดยมีเป้าหมายพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ให้เป็นคนดี คนเก่งและมีคุณภาพ โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย ซึ่งถือเป็นต้นน้ำของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่จะสนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 คือ เด็กปฐมวัยทุกคนต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน เต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอ ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ดังนั้นการพัฒนาคนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศนั้นต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ระยะคลอด หลังคลอด โดยเฉพาะในระยะ 2 ปีแรกของชีวิตเนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงเซลล์สมองกับโครงข่ายเส้นใยประสาท ทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำและมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว และจะมีระดับการพัฒนาที่รวดเร็วไปจนถึง 5 ปี หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาไปเรื่อยๆจนถึงประมาณ 25 ปี หรือกล่าวได้ว่า สมองของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมหาศาล เด็กแรกเกิดมีเซลล์สมองประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์ สมองของเด็กปฐมวัยกำลังเติบโตเมื่อ อายุ 3 ปี ขนาดของสมองของเด็กเท่ากับ 3 ใน 4 ของสมองผู้ใหญ่ ภายใน 5 ปี สมองเด็กโตเป็น 9 ใน 10 ของขนาดสมองผู้ใหญ่ ดังนั้นเด็ก 0-5 ปีจึงจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้รอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน ปัญหาที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวการณ์เจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีนภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง การเลี้ยงลูกด้วยสื่อโซเชียล เป็นต้น
1,000 วันแรกของชีวิต และ 2,500 นับจากการปฏิสนธิ จึงเป็นช่วงเวลาทองของชีวิตคน 1 คน ที่ถือได้ว่าเป็นต้นน้ำของการสร้างรากฐานการมีภาวะสุขภาพกาย-ใจที่ดีตลอดช่วงชีวิต จึงได้มีการสนับสนุนให้เกิดโครงการตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ในการดูแลเด็กปฐมวัยในประเทศไทย ผ่านกิจกรรม “กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน” โดยมุ่งหวังที่จะสร้าง “คนคุณภาพ” เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติ สำหรับตำบลโคกม่วงในปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมายังคงมีปัญหาเรื่องการคัดกรองพัฒนาการเนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวยังคงมีปัญหาการดำเนินงานที่ต่อเนื่องมาจากสถานการณ์ Covid-19 โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 1–3 ภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน คิดเป็นร้อยละ 60% ซึ่งยังคงต่ำกว่าเป้าหมาย ปัจจุบันตำบล โคกม่วงมีเด็กปฐมวัยในพื้นที่จำนวนทั้งสิ้น 280 คน จากการคัดกรองพัฒนาการเบื้องต้น จำนวน 30 คน พบว่ามีเด็กที่ต้องกระตุ้นพัฒนาการสูงถึง 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 40 และต้องส่งกระตุ้นพัฒนาการที่โรงพยาบาลแล้ว 5 ราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วงจึงมีแนวคิดส่งเสริมสุขภาพ เด็กปฐมวัยผ่าน “โครงการเด็กดี..ที่โคกม่วง 2566” ตามนโยบายโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยให้มีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ พัฒนาการสมวัย สุขภาพช่องปากดี มีภูมิต้านทาน ซึ่งจะส่งผลต่อการคุณภาพชีวิตที่ดีพร้อมส่งต่อเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพสำหรับอนาคต
  1. ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการติดตามภาวะโภชนาการ > ร้อยละ 90
  2. ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน > ร้อยละ 66
  3. ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีภาวะเตี้ย < ร้อยละ 10
  4. ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีภาวะผอม < ร้อยละ 5
  5. ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน < ร้อยละ 9
  6. ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการส่งเสริมและคัดกรองพัฒนาการ > ร้อยละ 90
  7. ร้อยละของเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าได้รับการติดตาม > ร้อยละ 90
  8. ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยหลังกระตุ้น 30 วัน > ร้อยละ 85
  9. ร้อยละเด็กอายุ 3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก  > ร้อยละ 50
  10. ร้อยละเด็กอายุ 3 ปี  ปราศจากฟันผุ  (3 ปีเต็ม – 3 ปี 11 เดือน 29 วัน) > ร้อยละ 75
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยในตำบลโคกม่วงมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงดูบุตรหลาน ซึ่งจะส่งผลต่อการดูแลเด็กให้เป็นเด็กดีมีคุณภาพทุกด้าน ภายใต้ความร่วมมือและความเข้มแข็งของทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2566 15:25 น.