กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการขับเคลื่อนตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ตำบลโคกม่วง ปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วง
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 9,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกุลธิดา พิชญ์พนัส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.875,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 ม.ค. 2566 26 ม.ค. 2566 9,750.00
รวมงบประมาณ 9,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกําลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคาดว่าจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปีพ.ศ.2567 โดยเพิ่มขึ้นจาก 10.3 ล้านคน (ร้อยละ 16.2) ในปีพ.ศ.2568 เป็น 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ในปีพ.ศ. 2583 ประกอบกับแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในวัยทํางานและผู้สูงอายุทำให้ประเทศต้องแบกภาระค่า รักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันเด็กเกิดน้อยแต่ด้อยคุณภาพ ระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าค่ามาตรฐานสากล ปัญหานี้เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนประเทศ ดังนั้นเราจึงต้องสร้างคนไทย 4.0 “มนุษย์ที่สมบูรณ์ ในศตวรรษที่ 21” ในช่วง 1000 วันแรกของชีวิต และต่อเนื่องไปถึง 2,500 วัน
1,000 วันแรกของชีวิต หมายถึง ทารกเริ่มปฏิสนธิในครรภ์จนถึงอายุ 2 ปี เป็นช่วงที่ โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมองเกิดเป็นโครงข่ายเส้นใยประสาทนับล้านๆ เป็นผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำ นอกจากนี้การเจริญเติบโตด้านร่างกายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน จากการศึกษาวิจัยในต่างประเทศพบว่า โภชนาการในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิตมีความสำคัญมากถึงร้อยละ 80 ต่อการกำหนดภาวะสุขภาพไปตลอดชีวิต ในขณะที่ปัจจัยด้านพันธุกรรมที่ได้รับจากพ่อแม่มีส่วนกำหนดเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น หากในช่วง 1000 วัน ได้รับอาหารน้อยไม่มีคุณภาพจะส่งผลให้ทารกในครรภ์และเด็กอายุ 0-2 ปีเจริญเติบโตไม่ดี น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม มีภาวะเตี้ย เด็กกลุ่มนี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ตามทฤษฎีของ David Barker นายแพทย์ชาวอังกฤษและนักระบาดวิทยาผู้สร้างทฤษฎี “Fetal programming” หรือ “Fetal origins of adult disease” ในทางตรงกันข้าม หากได้รับอาหารมากเกินไป ทารกในครรภ์จะมีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม ซึ่งกลุ่มนี้จะเติบโตเป็นเด็กอ้วน ผู้ใหญ่อ้วน มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเช่นเดียวกัน จากการดำเนินงาน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิตในหลายพื้นที่ของประเทศไทยสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางกับทุกพื้นที่ทั่วประเทศและขยายการดูแลไปจนถึง 2,500 วัน หรือ 5 ปี 11 เดือน 29 วัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองของเด็กที่จะได้รับการพัฒนาทั้งทางร่างกาย สมอง จิตใจ อารมณ์ให้เติบโตเป็น “คนคุณภาพ” ของประเทศต่อไปได้ การลงทุนในช่วง 2,500 วันแรกของชีวิตถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามากที่สุดเพราะประเทศจะได้ผลตอบแทนกลับมาหลายสิบเท่าของเงินลงทุน การดำเนินงานนี้เน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่พึงประสงค์คือ เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ พัฒนาการสมวัย ซึ่งหน่วยงานสาธารณสุขหน่วยงานเดียว ไม่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดผลลัพธ์ดังกล่าวได้ ต้องมีหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในรูปแบบของ “ประชารัฐ” ที่จะต้องร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมพัฒนาและร่วมลงทุน
ตำบลโคกม่วงเป็นตำบลที่มีเด็กปฐมวัยในพื้นที่ประมาณ 300 คนเศษ ซึ่งลดลงจากปีก่อนๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน ในจำนวนนี้อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกม่วงประมาณ 280 คน และยังมีเด็กช่วงอายุ  3-6 ปี จากพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามาเรียนในโรงเรียนในเขตตำบลโคกม่วงอีกบางส่วน เด็กกลุ่มนี้ล้วนเป็นเป้าหมายที่ตำบล      โคกม่วงจะต้องดูแลผ่านกลไก กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ซึ่งการดูแลนั้นจะต้องเริ่มมาตั้งแต่มารดาเริ่มตั้งครรภ์ ดังนั้นเพื่อให้กระบวนการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วันสามารถดำเนินได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจึงต้องมีคณะกรรมการพัฒนาเด็กและครอบครัวระดับตำบล หรือระดับหมู่บ้าน ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมไปด้วยกัน ดังนั้นจึงจัดทำโครงการขับเคลื่อนตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ตำบลโคกม่วง ปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาระบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 - 5 ปี ให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ มีสติปัญญาและมีศักยภาพที่ดี ภายใต้ความร่วมมือของครอบครัว ชุมชนเครือข่ายและองค์กรต่างๆ
  1. ทีมพัฒนาเด็กและครอบครัวมีการประชุมและติดตามการดำเนินงานตามแผนอย่างน้อย ร้อยละ 75
  2. มีการกำหนดนโยบาย หรือมาตรการทางสังคมที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพสตรีและเด็กปฐมวัย
  3. สตรีตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตั้งแต่ในระยะแรกของการตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดตามมาตรฐานที่กำหนด ร้อยละ 80
  4. จำนวนเด็กที่ได้รับการดูแลตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งมีอายุครบ 5 ปี และมี คุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนด ดังนี้
    4.1. เด็กสูงดี สมส่วน ร้อยละ 66 4.2. เด็กได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์อายุ ร้อยละ 90 4.3. เด็กฟันน้ำนมไม่ผุ หรือผุแต่ได้รับการแก้ไข ร้อยละ 75 4.4. เด็ก 6เดือน – 5ปี ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กร้อยละ 80 4.5. เด็กได้รับการตรวจพัฒนาการ ร้อยละ 90
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สถาบันครอบครัวและชุมชนมีความเข้มแข็ง มีส่วนร่วมในการดูแล หญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0 - 5 ปี รวมทั้งเป็นจุดเริ่มต้นในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาของชุมชนเพื่อสร้างเด็กให้เป็นประชาชนที่มีคุณภาพต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2566 15:40 น.