กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.4.0)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลลางา
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 2 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 75,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซัลมา ไซละมุด
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซอฟียะห์ ดอเลาะ
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้านคือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุม 4 ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน นั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน นั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลกไปกล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบันประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสที่มากระทำ ต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งวิถีที่เปลี่ยนไปฌรคที่เกิดขึ้นกับประชาชน จึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และที่สำคัญอีก เช่น วัณโรค เป็นต้นการจะแก้ไขปัญหา่ดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และสอดคล้อง กับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยส่งเสริม และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้เข้ามามีบทบาทในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เองเสริมสร้าง และพัฒนาศักยภาพเครื่อข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็ง การจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเชิงรุก พัฒนารูปแบบที่เป็นวัตกรรม ที่ใช่ความรูเนำมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฟติกรรม ค่านิยมของประชาชน เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทำให้ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้สนหน้าอย่างยั่งยืนชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา (สังกัดองค์การบริการส่วนจังหวัดปัตตานี)และกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริการส่วนตำบลลางา ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม)ให้สามารถดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชน ในชุมชน ด้วยการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆในชุมชน เพื่่อให้เกิดการแก้ไข้ปัญหาด้านสุขภาพในชุมชนจึงมีนโยบายที่จะพัฒนาความรู้ และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของ อสม.ตลอดจนพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง และดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป้นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน โดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพ อสม.ในทุกหมู้บ้านให้เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ในเรื่องที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เพื่อนำไปถ่ายทอดความรู้ ใหบริการและประสานงาน กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธาณสุข ประจำหมู่บ้าน(อสม 4.0)ปีงบประมาณ2566 นี้ขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ ทั้งด้านการป้องกันโรคติดต่อในชุมชน การส่งเสริมสุขภาพประชาชน ทั้ง 5กลุ่มวัย การเป็นแบบอย่างที่ดี ต่อชุมชน นำไปสู่การจัดการสุขภาพครอบครัว ในชุมชน ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ร้อยละ80

3.00 1.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพของชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้มีศักยภาพในการดำเนินงานส่งเสริมงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ร้อยละ80

3.00 1.00
3 เพื่อสร้างการบริการเชิงรุก ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้กลไกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ร้รอยละ80

4.00 1.00
4 เพื่อพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

ร้อยละ100

2.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 75,600.00 0 0.00
20 - 31 มี.ค. 66 อบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยในหัวข้อความรู้ดังนี้ 1.1 ความรู้ด้านสุขภาพในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 1.2 ความรู้ด้านนักจัดการสุขภาพตามกลุ่มวัย 1.3ความรู้ด้านการออกกำลังกาย 1.4 ความรู้ด้านการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน จำนวน3วัน 0 44,200.00 -
3 - 30 เม.ย. 66 พัฒนาสมรรถนะอสม.ในการเป็นแกนนำด้านสุขภาพและมีศักยภาพในการเป็นนักจัดการสุขภาพครอบคลุม 5มิติในพื้นที่ 0 12,600.00 -
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 เวทีนำเสนอผลลัพธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกระบวนการดูแลประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัญหาเฉพาะด้าน เช่น ติดเตียง เปราะบาง ไร้คนดูแล 0 8,500.00 -
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ติดตาม/ประเมินผล และถอดบทเรียนการดำเนินงาน จำนวน2ครั้ง 1.เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงติดตาม/ประเมินผล การฝึกปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หลังจากฝึกปฏิบัติงาน1เดือน 2.ถอดบทเรียนหลังการปฏิบัติงาน หลังจากกิจกรรมติดตาม/ประเมินผล3เดือน 0 10,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ยกระดับอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน เป็นอสม.4.0 2.อาสาสมัครประจำหมู่บ้านมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษาะด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกัน ฟื้นฟู สุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทั้ง5กลุ่มวัย สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพดี พึ่งพาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2566 11:09 น.