กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังดูแลป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
รหัสโครงการ 66-L2511-2-32
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านรือเสาะ
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 18,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมาน แซดอซา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซรากีย๊ะ มูเดาะมาตี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ยังพบว่าเป็นปัญหา ที่สำคัญของประเทศไทย จากฐานข้อมูลของสำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่าอุบัติการณ์ผู้ป่วยราย ใหม่ในปี 2563 อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เท่ากับ 328 ต่อ ประชากร 100,000 คน ซึ่งมีแนวโน้มสูงมากขึ้น ข้อมูลอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย stroke ที่ 30 วัน สูงกว่าการเสียชีวิตในโรงพยาบาลประมาณร้อยละ 6 บ่ง ชี้ว่าการแลผู้ป่วยในระยะ intermediate care น่าจะมี ปัญหา เพราะเกิดการเสียชีวิตของผู้ป่วยในช่วง 30 หลัง ออกจากโรงพยาบาล ซึ่งอาจเกิดจากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อของผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ได้แก่ aspiration pneumonia, urinary tract infection หรือ pressure sore ดังนั้นการพัฒนาการวางแผนการ จำหน่ายผู้ป่วย discharge planning และการติดตาม ให้คำปรึกษา และเยี่ยมบ้านช่วงแรกหลังออกจาก โรงพยาบาลนั้นมีความสำคัญอย่างมาก การมีทีมสุขภาพ ประกอบด้วย แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว พยาบาล นัก กายภาพบำบัด และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุข ภาพตำบล หรือหน่วยปฐมภูมิมีความจำเป็นอย่างยิ่งใน การดูแลผู้ป่วยหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในเนื้อสมอง intracerebral hemorrhage นั้นเป็นสิ่งที่ทีมต้องให้ความ ตระหนักมากขึ้น เนื่องจากอัตราการเสียชีวิตนั้นสูงมากและไม่มีแนวโน้มที่จะลดลงด้วย ดังตารางที่ 5 ซึ่งจะพบ ว่าอัตราการเสียชีวิตนั้นสูงประมาณ 1 ใน 4 ของผู้ป่วย นั้นเสียชีวิต โดยอาจเกิดจากธรรมชาติของโรคที่มีอันตรายสูงมาก หรือเกิดจากภาวะแทรกซ้อนระหว่างการ รักษาในโรงพยาบาล เพราะผู้ป่วยเหล่านี้มีอัตราการใส่ ท่อช่วยหายใจสูงกว่าผู้ป่วย cerebral infarction มาก อาจเกิดภาวะ hospital acquired pneumonia ดังนั้นการ ดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วย stroke unit อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้ ซึ่งในปัจจุบันผู้ป่วย intracerebral hemorrhage นั้นมักจะไม่ได้ให้การรักษา ในหอผู้ป่วย stroke unit เนื่องจากที่ผ่านมาหอผู้ป่วย stroke unit จะรับดูแลเฉพาะผู้ป่วย cerebral infarction เป็นหลัก และยังมีไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย ดังนั้นสิ่ง ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง คือ การเพิ่มหอผู้ป่วย stroke unit สำหรับผู้ป่วย intracerebral hemorrhage โดยการ ขยายหอผู้ป่วย stroke unit ให้ดูทั้งผู้ป่วย cerebral infarction ร่วมกับ intracerebral hemorrhage หรือจะ แยกหอผู้ป่วย stroke unit เป็น 2 ส่วน คือ เฉพาะผู้ป่วย cerebral infarction และเฉพาะผู้ป่วย intracerebral hemorrhage ในส่วนของสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองในอำเภอรือเสาะในงบประมาณ 2564 จำนวน 186 ราย ปีงบประมาณ2565 จำนวน 258 ราย เพิ่มขึ้นจากเดิม 72 ราย ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถานการณ์ดั่งกล่าวจึงทำให้เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านรือเสาะได้มองเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังดูแลป้องกันโรคหลอดเลือดสมองขึ้นเพื่อจะได้เป็นประโชนย์ต่อชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เจ้าหน้าที่อสม.สามารถประเมินส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองไปโรงรพ.รือเสาะในภาย 4 ชม.
  1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลใกล้บ้านภายในระยะเวลา 4 ชม. ร้อยละ 100
1.00 0.00
2 2. เพื่ออบรมเสริมความรู้เพิ่มพูนทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสุขภาพอย่างถูกต้อง

2.เพื่ออบรมเสริมความรู้เพิ่มพูนทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสุขภาพอย่างถูกต้อง ร้อยละ100

1.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,050.00 0 0.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมย่อยที่๑ การจัดอบรมให้ความรู้ผู้นำชุมชนและผู้ป่วยเรื้อรังเชิงปฏิบัติการในเรื่องของโรคหลอดเลือดสมอง 0 18,050.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เจ้าหน้าที่อสม.มีความรู้ความสามารถในการประเมินและส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างถูกต้องและทันเวลา 2.ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการส่งต่อและรักษาภายใน 4 ชม. 3.เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและความพิการจากโรคหลอดเลือดสมอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2566 00:00 น.