กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยโดยใช้สื่อของเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น
รหัสโครงการ 66-L1483-03-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าแก่
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกุสุมา กิ้มย่อง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากยุคปัจจุบันนี้ผู้ปกครองส่วนมากเลี้ยงดูบุตรหลานด้วยสื่อเทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์ แท็บเล็ต โทรทัศน์ ซึ่งเด็กไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายเลย ส่งผลให้เด็กไม่ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย กล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็กการใช้สื่อของเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ช่วยในการสนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก ส่งเสริมการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาทในการทำกิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรมต่าง ๆสนับสนุนให้เด็กมีโอกาสดูแลสุขภาพและสุขอนามัย สุขนิสัย และรักษาความปลอดภัยให้กับตนเองเช่น การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่การตระหนักรู้เกี่ยวกับร่างกายตนเอง โดยการควบคุมตนเองไปในทิศทาง ระดับและพื้นที่ที่เหมาะสม การเคลื่อนไหวข้ามสิ่งกีดขวางส่งเสริมพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่ดีและมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น มีความสุข สนุกสนานเพลิดเพลินในการเล่น อีกทั้งเป็นการปลูกฝังให้เด็กเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ สื่อของเล่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง ๔ ด้านเหมาะสมตามวัยอย่างเต็มศักยภาพ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าแก่เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมการใช้สื่อของเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กและเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาเหมาะสมตามวัย และสอดคล้องกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กแต่ละช่วงวัย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยโดยใช้สื่อของเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น เพื่อให้เด็กได้ใช้สื่อของเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งเสริมการจัดประสบการณ์ดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรงสมบูรณ์ให้มีความพร้อมสามารถปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่วและสัมพันธ์ ๒. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความสุข ร่าเริงแจ่มใส สนุกสนานเพลิดเพลินในการเล่นเครื่องเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ๓. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ๑. เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรงสมบูรณ์ให้มีความพร้อมสามารถปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่วและสัมพันธ์ ๒. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความสุข ร่าเริงแจ่มใส สนุกสนานเพลิดเพลินในการเล่นเครื่องเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ๓. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

2 ม.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 โครงการเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยโดยใช้สื่อของเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น 12,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กได้รับส่งเสริมสุขภาพให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรงสมบูรณ์ให้มีความพร้อมสามารถปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่วและสัมพันธ์กัน ๒. เด็กมีความสุข ร่าเริงแจ่มใส สนุกสนานเพลิดเพลินในการเล่นเครื่องเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ๓. เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2566 00:00 น.