กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนปันแต ใสใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 66-L3321-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 3 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 2,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประดับวุฒิ ณ นิโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 2,000.00
รวมงบประมาณ 2,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1185 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดของ สตรีไทย โรคมะเร็งที่พบรองลงมาจากมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม, โรคมะเร็งช่องปาก,โรคมะเร็งปอด และโรคมะเร็งรังไข่ ฯลฯ ปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ดังนั้นถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจ เกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก จะทำให้อัตราการเกิดโรค,อัตราการป่วยและอัตราการตาย จากโรคมะเร็งลดลง แม้ว่าในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุของการเป็นโรคได้ก็ตาม แต่กลุ่มสตรีสามารถดูแลและป้องกันตนเองได้ในระดับหนึ่ง ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุกเดือนเพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม และได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง สามารถลดอัตราการเกิดและตายจากโรคมะเร็งได้ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองกลุ่มป้าหมาย 30 ปีขึ้นไปรพ.สต.ปันแต มีจำนวน 1,182ราย ได้รับการคัดกรอง 1,151 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.38 ( ข้อมูล HDC กันยายน 2565 ) ที่ไม่พบความผิดปกติ อาจเกิด จาก การตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจ พร้อมทั้ง กลุ่มเป้าหมาย และ แกนนำ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งเต้านม ขาดทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และยังให้ความสำคัญในการตรวจเต้านมด้วยตนเองน้อย ดังนั้น รพ.สต.ปันแต จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยมีการพัฒนาศักยภาพของแกนนำสตรีให้มีความรู้ และมีทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และถ่ายทอดความรู้ทักษะการตรวจสู่สตรีเป้าหมายในชุมชน ส่งต่อเคสที่เจอความผิดปกติมาตรวจยืนยันโดยเจ้าหน้าที่ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรม การดูแลและเฝ้าระวังจากมะเร็งเต้านมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีอายุ 30-70 ปี มีความรอบรู้ถึงภัยจากมะเร็งเต้านม

ประเมินจากแบบทดสอบก่อน และหลังการอบรม

85.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายสามารถเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง ประมวลผลจากฐานข้อมูลHDC On Cloudสสจ.พัทลุง

80.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประมวลผลจากฐานข้อมูลHDC On Cloudสสจ.พัทลุง

80.00
4 สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาจากแพทย์ทุกราย

สตรีที่ตรวจพบความปกติได้รับการส่งต่อและรักษาจากแพทย์

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 สำรวจกลุ่มเป้าหมายหญิง(1 ก.พ. 2566-31 ส.ค. 2566) 0.00              
2 คัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง(1 เม.ย. 2566-31 ส.ค. 2566) 2,000.00              
3 ชี้แจงรายละเอียดการคัดกรองมะเร็งเต้านม(7 เม.ย. 2566-7 เม.ย. 2566) 0.00              
รวม 2,000.00
1 สำรวจกลุ่มเป้าหมายหญิง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1185 0.00 1 0.00
1 ก.พ. 66 - 31 มี.ค. 66 สำรวจกลุ่มเป้าหมายหญิง อายุ30-70ปี 1,185 0.00 0.00
2 คัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 2,000.00 1 2,000.00
1 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 คัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง 0 2,000.00 2,000.00
3 ชี้แจงรายละเอียดการคัดกรองมะเร็งเต้านม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 117 0.00 1 0.00
1 มี.ค. 66 - 30 เม.ย. 66 กิจกรรม ชี้แจงรายละเอียดการคัดกรองมะเร็งเต้านมแก่ อสม วันประชุมประจำเดือน. 117 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีในชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมที่ถูกต้อง และสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมให้ตัวเอง และคนรอบข้างได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2566 21:20 น.