กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กสมส่วน สมวัย ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L5287-3-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ้านปลักหว้า
วันที่อนุมัติ 25 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 10,914.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนงลักษ์ โต๊ะปลัด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.791,99.964place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2566 15 ก.ย. 2566 10,914.00
รวมงบประมาณ 10,914.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นของชีวิต ตั้งแต่ช่วงอายุแรกเกิด ถีง 5 ปี ถือว่าเป็นวัยที่มีความสำคัญและเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศจึงสมควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดให้มีสุขภาพ พลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่เหมาะสมตามวัยอย่างเต็มศักยภาพ ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี เช่น ให้เด็กได้รับโภชาการการที่ดีถูกต้อง เหมาะสมตามหลักโภชนาการที่สมบูรณ์จะเป็นกลไกสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทั้งด้านร่างกาย จิตใจ - อารมณ์ จะส่งผลต่อการพัฒนาด้านสมองระบบประสาท และสติปัญญาในการเรียนรู้ของเด็กก่อนวัยเรียน 0 - 5 ปี จำเป็นต้องได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละหมู่ควรรับประทานหลากหลายชนิด รับประทานวันละ 3 มื้อ อย่างเพียงพอละดื่มนมเป็นอาหารเสริมทุกวัน โดยเฉพาะอาหารเช้าจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งวัยกำลังเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสทอง ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายของเด็กทำงานได้ดีขึ้น มีพละำลังในการทำกิจกรรมต่างๆ พร้อมกัยการพัฒนาสมองเกิดการเรียนรู้อย่างมีสมาธิและจดจำได้ดี หากเด็กไม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน หรือไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายกับระบบภูมิคุ้มกัน อาจจะทำให้ป่วยง่ายพร้อมยังมีผลสติปัญญา จะทำให้เด็กเรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง และจำอะไรได้ไม่ค่อยดี
ปัจจุบันผลสำรวจจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ) พบว่า เด็กเกินครึ่งได้ไม่ได้กินอาหารเช้า ส่วนมากมาจากปัญหาความยากจน และความเร่งรีบในการประกอบอาชีพ รวมถึงการขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของอาหารเช้า พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ส่งผลให้เด็กไม้ได้รับประทานอาหารเช้า หรือท่านอาหารเช้าที่มีคุณค่าโภชาการไม่เพียงพอมีความต่อภาวะทุพโภชานาการ คือร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสมหรือได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่เพียงพอ ทั้งที่อาหารมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก
จากการสำรวจสภาวการณ์เจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย ของศุฃูนยืพัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ้านปลักหว้า พบว่ามีเด็กอายุ 2 - 4 ปี จำนวน 41 คนมีน้ำหนักน้อยกว่าเณฑ์ 2 คน น้ำหนักคาอนข้างน้อย 4 คน จากปัญหาดังกล่าว พบว่า การส่งเสริมเฝ้าระวังการคัดกรองพัฒนาการของเด็กปฐมวัย (0 -5 ) ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายพัมนาเด็กไทยให้มีคุณภาพ ภายใต้มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ เป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสร้างเด็กไทยให้มีคุณภาพ ภายใต้มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ เป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสร้างเด็กไทยให้มีคุณภาพ โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการตลอดจนเจ้าหน้าที่บุคลากรสาธาณณสุขที่ปฏิบัตงาน ครูผู้ดูแลเด็กในศุนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ปกครองซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องร่วมมือในการดูแลเด็กปฐมวัยอย่างใกล้ชิดให้มีสุขภาพจิตที่ดี เติบโตอย่างเต็มศักยภาพ
  ทั้งนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ้านปลักหว้า เห็นว่าควรให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารเช้าของเด็กปฐมวัยเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเบื้องต้นได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของเด็กทีมีภาวะทุพโภชนาการต่ำ และได้ทำโครงการอาหารเช้าเพื่อน้อง สมองสดใส ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อให้เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ้านปลัหว้ามีภาวะโภชาการที่ดีและเติบโตอย่างเต็มศักยภาพทุกคน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ้านปลักหว้าที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่

เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ้านปลักหว้าที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับสารอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่ ทุกคน

2 2. เพื่อยกระดับภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ้านปลักหว้า

ยกระดับภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ้านปลักหว้า ร้อยละ 80

3 3. เพื่อเฝ้าระวังและแกไขปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชาการของเด็กปฐมวัยให้สูงดีสมส่วนและพัฒนาการสมวัย

เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาเด็กมีภาวะทุพโภชาการของเด็กปฐมวัยให้สูงดีสมส่วน และพัฒนาการสมวัยร้อยละ 80

4 4. เพื่อผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องภาวะทุพโภชาการและสุขภาพอนามัยของเด็ก

ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องภาวะทุพโภชาการสุขภาพอนามัยของเด็ก ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 45 10,914.00 0 0.00
31 ม.ค. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการ 45 6,350.00 -
31 ม.ค. 66 กิจกรรมแปรรูปอาหาร ข้าวต้มกุ้ง , ปลา , ไก่ ,ไข่ ,ตับวัว , ผักต่างๆ 0 4,564.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ้านปลัหว้าที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่
  2. ยกระดับภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์มัสยิดบ้านปลักหว้า
  3. เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชาการของเด็กปฐมวัยให้สูงดีสมส่วน และพัฒนาการสมวัย
  4. ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องภาวะทุพโภชาการและสุขภาพอนามัยของเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2566 09:43 น.